กรมบังคับคดีเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2018 (2018 International Conference on Ease of Doing Business) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

2/12/2561
กรมบังคับคดีเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2018 (2018 International Conference on Ease of Doing Business) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 กรมบังคับคดี โดยนางสาวรัชนี บุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีแพ่ง และนายภัทระ วัฒนชัย นิติกรชำนาญการ กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ เป็นผู้แทนกระทรวงยุติธรรมประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2018 (2018 International Conference on Ease of Doing Business) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2561 โดยในคืนวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงยุติธรรมสาธารณรัฐเกาหลีได้จัดเลี้ยงต้อนรับผู้อภิปรายและผู้เข้าร่วมการประชุม มี Mr. Myung, Han Seok อธิบดีกรมกฎหมายพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และในการนี้ ผู้แทนกรมบังคับคดีได้เรียนเชิญ0Mr. Myung, Han Seok อธิบดีกรมกฎหมายพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (International Conference on Civil Case Enforcement under Disruptive Technology) ที่กรมบังคับคดีจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2562  และการประชุมระหว่างประเทศฯ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม สาธารณรัฐเกาหลี Mr. Yonggu LEE เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระหว่างประเทศฯ (2018 International Conference on Ease of Doing Business) อย่างเป็นทางการ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องในตัวชี้วัดที่ 5 ด้านการเข้าถึงสินเชื่อ ตัวชี้วัดที่ 6 ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนข้างน้อย และตัวชี้วัดที่ 9 ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง จากประเทศต่างๆ เข้าร่วม เช่น สาธารณรัฐเกาหลี ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สหราชอาณาจักร สมาพันธรัฐรัสเซีย ประเทศออสเตรเลีย สาธารณารัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศไทย เป็นต้น และผู้เข้าร่วมประชุมอื่นๆ รวมประมาณ 60 คน โดยการประชุมแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ 1. ความคืบหน้าในการปฏิรูปตามกรอบความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของสาธารณรัฐเกาหลี 2. มาตรการการคุ้มครองผู้ลงทุนข้างน้อยในราชอาณาจักรนอร์เวย์ และเปรียบเทียบกับสาธารณรัฐเกาหลี 3. ความแข็งแกร่งทางกฎหมายหลักประกันของสหราชอาณาจักร และแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหลักประกันของสาธารณรัฐเกาหลีโดยยึดหลักตามกฎหมายแม่แบบว่าด้วยหลักประกันของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ 4. แนวทางการปฏิรูปการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงในสหพันธรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐเกาหลี

อัลบั้มรูปภาพ