กรมบังคับคดีแถลงผลงานปีงบประมาณ 2561 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 147,010 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 8 ปี และแผนการดำเนินงานปี 2562 ด้วยนโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้านหลัก “LED 5 Excellence”

20/10/2561
กรมบังคับคดีแถลงผลงานปีงบประมาณ 2561 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 147,010 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 8 ปี และแผนการดำเนินงานปี 2562 ด้วยนโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้านหลัก “LED 5 Excellence”

วันนี้ (19 ตุลาคม 2561) เวลา 10.00 น.ที่กลุ่มจัดการกลางด้านล้มละลาย ชั้น 1 นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางอรัญญา ทองน้ำตะโก รองอธิบดีกรมบังคับคดี นางสาวสายรุ้ง มารมย์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี และนางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมแถลงผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และแผนการดำเนินงานปี 2562 ด้วยนโยบายพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้านหลัก “LED 5 excellence” สำหรับผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยนโยบาย 9 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี 2. ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3. ด้านการบริหารจัดการคดี (Case Management) 4. ด้านการบูรณาการทำงานร่วมกันในส่วนกลางและเชื่อมโยงข้อมูลกับภาครัฐและเอกชน 5. ด้านการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการบังคับคดีแพ่ง ล้มละลายและกฎหมายเศรษฐกิจให้ความรู้กฎหมายแก่กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)และประชาชนทั่วประเทศ จำนวนกว่า 40,000 คน 5. ศูนย์กลางวิชาการด้านการบังคับคดีอาเซียน และพัฒนางานด้านต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี และคดีล้มละลาย 6. ด้านพัฒนาศักยภาพบุคลากร และระบบการบริหารจัดการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดี แผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2562ด้วยนโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้านหลัก “LED 5 Excellence” ดังนี้ 1.Case management Excellenceการบริหารจัดการคดี 2. IT Excellence การพัฒนานวัตกรรมและระบบการทำงาน 3. Information Excellence พัฒนานวัตกรรมและระบบการทำงาน 4. HR Excellence เพิ่มศักยภาพบุคลากร 5. Organization Excellence ยกระดับองค์กร การดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจของกรมบังคับคดี มีดังนี้ 1. กำหนดเป้าหมายการผลักดันทรัพย์สินทั้งปี 130,000 ล้านบาท 2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามนโยบายรัฐบาล ลดปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการบังคับคดี 3. มหกรรมขายทอดตลาทรัพย์สินทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2561 ส่วนกลาง ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และส่วนภูมิภาคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยอง อุบลราชธานีขอนแก่นเชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม สุราษฎร์ธานี และสงขลา 4. ด้านดิจิทัล มีการพัฒนาระบบ e – Insolvency เพื่อใช้ในสำนวนบังคับคดีล้มละลายการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านการบังคับคดีของหน่วยงานภายในและบูรณาการฐานข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก พัฒนาระบบไกล่เกลี่ยเพื่อให้บริการประชาชนยื่นคำขอไกล่เกลี่ยผ่านทาง Mobile Application พัฒนาระบบการออกใบอนุญาต และการตรวจสอบ/กำกับดูแลผู้ทำแผน และผู้บริหารแผนทางอิเล็กทรอนิกส์ 5. ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย/สร้างความรับรู้กฎหมายทั่วประเทศ จัดอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณทั่วประเทศ 6.การพัฒนาด้านการให้บริการและด้านอื่นๆได้แก่ การให้บริการประชาชนในรูปแบบ Mobile Truck เพื่อให้เข้าถึงประชาชนในทุกกลุ่มการศึกษาวิจัยสถานการณ์หนี้สิน : กรณีศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี และการพัฒนาระบบติดตามข้อร้องเรียนผ่านทาง MobileApplication และการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยในส่วนกลางและ 9 ภาค Sandboxเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้ในทุกประเภท 7.ด้านการต่างประเทศ การดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (EoDB) การจัดประชุมวิชาการบังคับคดีแพ่งของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ภายใต้โครงการการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน มีกำหนดจัดกิจกรรมในระหว่างวันที่ 17 –19 มีนาคม 2562

อัลบั้มรูปภาพ