กรมบังคับคดีแถลงแนวทางการขับเคลื่อนงานที่สำคัญในปี 2568 มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกมิติ

24/1/2568
กรมบังคับคดีแถลงแนวทางการขับเคลื่อนงานที่สำคัญในปี 2568 มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกมิติ

 วันที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 10.30 น. นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานในพิธีแถลงแนวทางการขับเคลื่อนงานภารกิจกรมบังคับคดี โครงการสำคัญและกิจกรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2568 โดยมีนางเพ็ญรวี มาแสง รองอธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมคชสาร 2 ชั้น 3 อาคารกรมบังคับคดี นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมมีบทบาทหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรรม ให้แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่เป็นสุข เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเกิดการเลิกจ้างส่งผลต่อปัญหาหนี้สิน ถูกฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นโดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 มีปริมาณคดีแพ่งและคดีล้มละลายในชั้นบังคับคดี จำนวน 4,171,644 เรื่อง ทุนทรัพย์กว่า 19.109 ล้านล้านบาท จำนวนทุนทรัพย์เมื่อเทียบ GDP จำนวน 18.37 ล้านล้านบาท หนี้ในชั้นบังคับคดีมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 4.02 สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญตั้งแต่ตุลาคม - ธันวาคม 2567 1. เร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจากกระบบการบังคับคดี โดยในปี 2568 มีเป้าหมายจำนวน 241,000 ล้านบาท สามารถผลักดันทรัพย์ได้เป็นจำนวน 53,339,959,356.27 บาท 2. การเร่งรัดสำนวนคดีแพ่งและคดีล้มละลายที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567 ร้อยละ 1 (จำนวน 425,682 คดี) ปัจจุบันสามารถดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 103,594 เรื่อง สำหรับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล 1.ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน สำหรับแผนการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยลูกหนี้ภายใต้กิจกรรม “มีอยู่ มีกิน มีใช้”ในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 52 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2568 2.การดำเนินการเกี่ยวกับคดีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยมีการดำเนินการหารือแนวทางการบังคับคดีหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มลูกหนี้ คือ กลุ่มลูกนี้ที่ชำระหนี้ครบถ้วน และลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย 3.ทบทวนปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้อง กับสถานะการณ์ เช่น ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นกิจการขนาดย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกันกับการฟื้นฟูกิจการขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ช่วงเดือนเมษายน 2568 4.การให้ความรู้ด้านการเงินและด้านกฎหมายเพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิ ที่ถูกต้องสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปประจำวัน และ5.การยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล เช่น ปัจจุบันจะใช้ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือแอบพลิเคชัน ThaiD ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ LED e-Service ต่าง ๆ ได้ง่าย ปลอดภัย เพื่อลดต้นทุนเวลา และเพิ่มคุณภาพการให้บริการประชาชนต่อไป

อัลบั้มรูปภาพ