เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อดทน และ เสียสละ หากพบเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีมีการเรียกรับทรัพย์สินประพฤติไม่เหมาะสมหรือทุจริต ขอให้แจ้งต่อ อธิบดีกรมบังคับคดี หมายเลขโทรศัพท์ 02-881-4800 และเรื่องทั่วไปติดต่อ 02-881-4999 |
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๒๒ -------------------------------------------------------------------------------- โดยที่ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๗ ได้จัดตั้งกรมบังคับคดีขึ้นในกระทรวงยุติธรรม โดยโอนอำนาจหน้าที่ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการกองบังคับคดีแพ่งมาเป็นของกรมบังคับคดี และได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดีกำหนดกองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีขึ้นใหม่ แทนกองบังคับคดีแพ่ง จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขและวางระเบียบปฏิบัติในการบังคับคดีเสียใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น จึงให้ยกเลิกระเบียบราชการกองหมายซึ่งใช้อยู่เดิม และให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวดที่ ๑
การบังคับคดี(๑) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๑ เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหมายบังคับคดี หรือตามคำสั่งของศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายได้แต่ภายในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรือมีคำสั่ง หรือขอบอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ ๒ ถ้าจะต้องบังคับคดีนอกเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานพร้อมส่งหมายที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแทน(๒) ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีหรือคำสั่งของศาล หรือการมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการตามหมายบังคับคดี หรือ คำสั่ง หรือการมอบหมายนั้นภายในเวลาอันสมควร -------------------------------------------------------------------------------- (๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๐๗/๒๕๓๑ เรื่อง การรายงานเกี่ยวกับการบังคับคดี (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคดี (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวดที่ ๒
การยึดทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- บทที่ ๑
ผู้นำยึด -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๔ ผู้นำยึด คือ ผู้ซึ่งได้ระบุไว้ในหมายบังคับคดีหรือในหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เป็นผู้นำยึด ข้อ ๕ ผู้นำยึดอาจมอบอำนาจให้ทนายความของตน หรือ ผู้หนึ่งผู้ใดมาทำการแทนก็ได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี ข้อ ๖ ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการบังคับคดี ต้องให้ผู้นำยึด หรือผู้รับมอบอำนาจทำคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี และวางเงินค่าใช้จ่าย(๑) ไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดตามอำนาจในกฎหมาย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ และค่าจ้างคนเฝ้ารักษาทรัพย์ด้วย ข้อ ๗ ถ้าเป็นการยึดที่ดิน ให้ผู้นำยึดส่งโฉนด หรือ หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินรายที่จะนำยึดหรือสำเนาซึ่งเจ้าพนักงานรับรอง ถ้าหากมี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบก่อน ข้อ ๘ ผู้นำยึดเป็นผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวก จัดยานพาหนะรับและส่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ตลอดจนการขนย้าย และการเก็บรักษาทรัพย์ และออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร้องขอ ข้อ ๙ ผู้นำยึดต้องอยู่ในสถานที่ยึดทรัพย์เพื่อชี้ทรัพย์(๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำการยึดและช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์ตามแต่เจ้าพนักงานบังคับจะขอร้องเพื่อให้การยึดสำเร็จไปโดยมิชักช้า -------------------------------------------------------------------------------- (๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๕๓/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๖๘/๒๕๒๖ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๖ บทที่ ๒
เจ้าพนักงานบังคับคดี(๑) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๑๐ (๒)ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง กรมบังคับคดี เป็นผู้กำหนดตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ไปยึดทรัพย์ ข้อ ๑๑ ก่อนไปทำการยึดทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ไปยึดทรัพย์ตรวจสอบและทำความเข้าใจให้แน่ชัดว่าจะต้องยึดทรัพย์อะไร ของใคร และจำนวนราคาทรัพย์ที่จะยึดได้ตามกฎหมายมีประมาณเท่าใด(๓) พร้อมทั้งนำประกาศยึดทรัพย์ไปด้วย เพื่อปิดไว้ ณ สถานที่ที่ยึดทรัพย์ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ตาม วัน เวลาที่ผู้นำยึดมารับหรือตามที่นัดหมายกับ ผู้นำยึด(๔) และนำหมายบังคับคดีประกาศยึดทรัพย์กับเครื่องมือสำหรับทำการยึดทรัพย์ เช่น ครั่ง และตราตีครั่ง ซึ่งจ่ายประจำตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ไปยึดทรัพย์ติดตัวไปด้วย ทั้งนี้ จะมีพนักงานเดินหมายร่วม ไปช่วยเหลือด้วยหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๑๓ ถ้าจะยึดที่ดินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ไปยึดทรัพย์จัดการเพื่อให้ได้โฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน หรือ สำเนาซึ่งเจ้าพนักงานรับรองมา ถ้าหากมีเพื่อตรวจสอบและจับสเกลจำลองแผนที่หลังโฉนด บทที่ ๓
วิธีดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๑๔(๕)ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำการยึดทรัพย์ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ในวันทำการงานปกติ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน โดยได้รับอนุญาตจากศาล --------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๓/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๓) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๓/๒๕๓๑ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ (๔) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๖๗/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ (๕) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๓/๒๕๓๑ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ข้อ ๑๕ ก่อนกระทำการยึดทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงหมายบังคับคดีต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้าไม่ปรากฏตัวลูกหนี้ให้แสดงต่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น ข้อ ๑๖ ในการที่จะดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อที่จะค้นสถานที่ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ครอบครองอยู่ เช่น บ้านที่อยู่ คลังสินค้า โรงงานและร้านค้าขาย ทั้งมีอำนาจที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชีหรือแผ่นกระดาษ และกระทำการใดๆ ตามสมควรเพื่อเปิดสถานที่ หรือบ้านที่อยู่ หรือโรงเรือนดังกล่าวแล้ว รวมทั้งตู้นิรภัย ตู้ หรือ ที่เก็บของอื่น ๆ แล้วรายงานให้ศาลทราบ ข้อ ๑๗ ในการยึดทรัพย์รายใด ถ้ามีผู้ขัดขวาง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีชี้แจงว่ากล่าวแต่โดยดีก่อน ถ้าผู้นั้นยังขัดขวางอยู่อีก ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อดำเนินการบังคับคดีจนได้ ข้อ ๑๘ ให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่เพียงประมาณราคาที่ควรจะขายทอดตลาดได้ พอชำระหนี้ตามหมายบังคับคดี พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือ ศาลจะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์ซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ และมิอาจแบ่งยึด โดยมิให้ทรัพย์นั้นเสื่อมราคา เช่น ทำให้เปลี่ยนสภาพและราคาตกต่ำ ทั้งทรัพย์อื่นที่จะยึดให้พอคุ้มจำนวนหนี้ไม่ปรากฏด้วยแล้ว ก็ให้ยึดทรัพย์ที่ว่านั้นมาขายทอดตลาดถึงแม้ผู้นำยึดจะชี้ให้ยึดแต่เพียงบางส่วนก็ดี ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดการยึดหรืออายัดทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำชี้ เมื่อสงสัยว่าทรัพย์สินนั้นไม่อาจยึดอายัดได้ตามกฎหมาย เช่น ปรากฏว่ามีชื่อบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ บุคคลซึ่งทรัพย์ต้องถูกยึดหรืออายัดเป็นเจ้าของในทะเบียน เมื่อได้งดการยึดหรืออายัดแล้ว ให้รีบรายงานต่อ ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งเพื่อจะได้รายงานต่อไปยังศาล(๑) ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๓ วรรค ๒ เมื่อยึดหรืออายัดทรัพย์มาแล้ว ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดนั้นมีชื่อบุคคลอื่น นอกจากลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ บุคคลซึ่งทรัพย์ต้องถูกยึดหรืออายัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทะเบียนให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบเพื่อถอนการยึดทรัพย์นั้น --------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินซ้ำหรือที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๕, ๒๘๖, ๒๙๐ และพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือ กฎหมายอื่น ๆ ข้อ ๒๑ ถ้าในหมายบังคับคดีกล่าวเฉพาะเจาะจงให้ยึดทรัพย์สิ่งใดให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดแต่เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้น ข้อ ๒๒ ถ้าจะยึดทรัพย์ที่มีทะเบียน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามผู้นำยึดเสียก่อนว่าผู้ใดมีชื่อเป็นเจ้าของทะเบียนนั้น ข้อ ๒๓ เมื่อกระทำการยึดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศยึดทรัพย์ไว้ ณ สถานที่ ๆ ยึดโดยเปิดเผย และให้ทำรายงานและบัญชีทรัพย์ที่ยึดเสนอผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง(๑) ข้อ ๒๔ เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้วสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกในเรื่องพันธบัตร หลักทรัพย์ที่เป็นประกัน ตราสารเปลี่ยนมือ หรือสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา นอกจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๑๐ ทวิ ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๑๐(๒) ข้อ ๒๕ ยกเลิก ข้อ ๒๖ (๓)ในการยึดที่ดินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรังวัดเขตกว้างยาวของที่ดินที่ยึดกับแผนที่จำลองตามข้อ ๑๓ ว่าจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่ หากควรเชื่อได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้วให้แสดงให้เห็นสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินที่ยึด และแสดงด้วยว่าอยู่ใกล้ไกลจากสถานที่ราชการหรือที่ชุมนุมชน หรือทางบก ทางน้ำประมาณระยะทางเท่าใด ข้อ ๒๗ ในการยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้าที่ดินที่ยึดนั้นมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีเป็นของผู้อื่นปลูกอยู่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบันทึกถ้อยคำของเจ้าของสิ่งนั้น ๆ ให้ปรากฏว่ามีสิทธิในที่ดินอยู่อย่างไร เป็นต้นว่า อาศัยหรือมีสัญญาเช่าต่อกัน ฯลฯ --------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๔๗/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ (๓) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๓๑๐/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๓ ข้อ ๑ (๑) (๒) (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่๘) พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๘ การยึดเรือน โรง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดขนาดกว้างยาว และบรรยายสภาพแห่งสิ่งนั้น ๆ เช่น พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เสา เครื่องบนใช้ไม้ชนิดใด หลังคาอะไร มีกี่ชั้น กี่ห้อง และเก่าใหม่อย่างใด เลขทะเบียนเท่าไร ถ้าเป็นสถานที่ให้เช่า ค่าเช่าเท่าใด ข้อ ๒๙ การยึดอสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ย่อมครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น หรือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ประสงค์ให้ยึดดอกผลนั้น ๆ ข้อ ๓๐ การยึดที่ดินซึ่งมีไม้ยืนต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดชนิดและประมาณจำนวนต้นไม้ไว้ด้วย ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการยึดทรัพย์สินกสิกร พ.ศ. ๒๔๗๕ การยึดที่ไร่นา ซึ่งมีไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล จะยึดแต่ที่ดินไม่ยึดไม้ล้มลุกและธัญชาติหรือจะยึดทั้งที่ดินและไม้ล้มลุกหรือธัญชาติด้วยก็ได้ ข้อ ๓๑ ถ้าอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมีดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องเป็นผู้เก็บเกี่ยวหรือบุคคลอื่นเป็นผู้เก็บเกี่ยวในนามของลูกหนี้ เมื่อผู้ยึดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเก็บเกี่ยว และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรจัดการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ลูกหนี้ทราบเสียก่อนในขณะทำการยึด แล้วจึงทำการเก็บเกี่ยวดอกผลนั้นเมื่อถึงกำหนด ข้อ ๓๒ ในการยึดทรัพย์นั้น ให้ยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้ามีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ให้ยึดมาทั้งหมด ข้อ ๓๓(๑) เมื่อยังไม่มีการยึดทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้ผู้ใดอยู่โดยมีสิทธิได้รับเงินหรือทรัพย์สินอื่นจากผู้ใดก็ตาม เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอายัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๘๒ ประกอบมาตรา ๓๑๐ ทวิ ไปยังลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามิให้ชำระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้นำมาชำระหรือส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดไว้(๒) --------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๔๗/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๘๘/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๓๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงให้เห็นโดยประจักษ์แจ้งตามวิธีที่เห็นสมควรว่าได้มีการยึดทรัพย์แล้ว เช่น (๑) สิ่งของ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดหรือผูกแผ่นเลขหมาย สิ่งของที่ยึดสำคัญให้ตรงตามบัญชีทรัพย์ ถ้าสามารถจะเก็บรวมเข้าหีบหรือตู้ไว้ ก็ให้รวมไว้แล้วปิดหีบหรือตู้ประทับตราครั่งอีกชั้นหนึ่ง (๒) ห้องแถว ตึกแถว หรือสิ่งปลูกสร้าง ให้ปิดเครื่องหมายไว้ทุกห้อง (๓) สัตว์พาหนะและปศุสัตว์ จะใช้สีทาที่เขาด้านในตัวหรือที่ตัว หรือจะใช้แผ่นเลขหมายผูกคอ หรือ จะต้อนเข้าคอกแล้วผูกเชือกประทับตราครั่งที่ประตูคอกก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร แต่อย่าให้เป็นการขัดข้องต่อการเลี้ยงรักษาสัตว์ ข้อ ๓๕ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีทรัพย์ที่ยึดโดยแสดงรายละเอียด เช่น ชื่อประเภท จำนวน ขนาด น้ำหนัก สภาพของทรัพย์และราคาประมาณแห่งทรัพย์ตามลำดับหมายเลขไว้ แล้วส่งสำเนาไปยังศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ การจดบัญชีทรัพย์ถ้าเป็นทรัพย์หลายสิ่งราคาเล็กน้อย จะมัดรวมหรือกองรวมกัน แล้วจดเป็นเลขหมายเดียวก็ได้ ถ้าทรัพย์ที่ยึดเป็นชุดหรือสำรับการจดบัญชีให้รวมเป็นชุดเป็นสำรับ หรือไม่รวมก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร ข้อ ๓๗ การประมาณราคาที่ดินพึงพิจารณาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบกันคือ (๑) ราคาซื้อขายกันในท้องตลาดโดยคำนึงถึงสภาพแห่งที่นั้นว่า เป็นที่อะไร เช่น ที่ปลูกตึกแถว เรือนแถว ให้เช่า หรือ ที่บ้านที่สวนที่นาที่ไร่ และที่นั้นอยู่ในทำเลอย่างใด เช่น อยู่ในทำเลค้าขาย ที่ชุมนุมชน หรือใกล้ทางบก ทางน้ำ ท่าเรือ หรือมีประโยชน์รายได้มากน้อยเพียงใดเหล่านั้น เป็นต้น (๒) ราคาที่ดินตำบลนั้นหรือตำบลใกล้เคียง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเคยขายทอดตลาดไปแล้ว (๓) ราคาซื้อขายหรือจำนองหรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึด และที่ดินข้างเคียง (๔) ราคาประเมินปานกลางของสำนักงานที่ดิน ข้อ ๓๘ การประมาณราคาทรัพย์นอกจากที่ดินให้ประมาณตามราคาซื้อขายในท้องตลาดตามสภาพความเก่าใหม่ของทรัพย์นั้น ๆ มิใช่ประมาณราคาตามที่คู่ความตกลงกันเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม ข้อ ๓๙ การประมาณราคาทรัพย์ที่มีการจำนำหรือจำนอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ ข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ แต่ให้หมายเหตุไว้ด้วยว่า จำนำ หรือ จำนองเมื่อใด ต้นเงินเท่าใด เพื่อประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาด ข้อ ๔๐ เมื่อได้ยึดทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคับคดีจดบัญชีและประมาณราคาทรัพย์ที่ยึดไว้แล้วให้ผู้นำยึดลงนามรับรองบัญชีนั้น ถ้าผู้นำยึดไม่เห็นชอบตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาณก็ให้บันทึกไว้โดยชัดเจน ข้อ ๔๑ เมื่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง เห็นว่าราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ประมาณยังไม่สมควร ก็ให้มีอำนาจแก้ไขได้ แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้นำยึดและลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ ข้อ ๔๒ การยึดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นอันอยู่ในที่ดินนั้นให้รีบแจ้งการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน และหรือหัวหน้าเขตแห่งท้องที่แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเป็นการยึดที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด ตราจอง หรือ ใบไต่สวนตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นอันอยู่ในที่ดินนั้น ให้รีบแจ้งการยึดไปยังหัวหน้าเขตแห่งท้องที่ ข้อ ๔๓ การยึดสิ่งปลูกสร้างซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นที่มีโฉนด ให้ผู้นำยึดแจ้งเลขโฉนด และชื่อเจ้าของที่ดินนั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าหากทราบ ข้อ ๔๔ เมื่อได้กระทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ให้แจ้งการยึดราคาประเมินนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ และถ้าหากทรัพย์สินที่ยึดมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมให้แจ้งการยึดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทราบด้วย ถ้าไม่สามารถจะกระทำตามความในวรรคก่อนได้ ก็ให้ปิดประกาศแจ้งการยึดไว้ ณ สถานที่ที่ยึดและที่กรมบังคับคดี หรือ ประกาศแจ้งการยึดทางหนังสือพิมพ์รายวันไม่เกิน ๗ วัน ข้อ ๔๕ เมื่อได้ยึดเรือกำปั่น หรือ เรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพคนอยู่อาศัย ให้แจ้งการยึดไปยังกรมเจ้าท่า หรือหัวหน้าเขตแห่งท้องที่แล้วแต่กรณี กรณียึดทรัพย์อื่นที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เครื่องจักร ให้แจ้งการยึดไปยังนายทะเบียนแห่งทรัพย์นั้น บทที่ ๓/๑
การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ(๑) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๔๕/๑ ในกรณีผู้นำยึดแถลงความประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้นำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ดังนี้ (๑) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. ๓ นส. ๓ก.) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสำคัญที่ดินอื่นๆ หรือสำเนาที่เจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน ๑ เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่นหนังสือสัญญาจำนอง เป็นต้น (๒) แจ้งภูมิลำเนาและส่งสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๑ เดือน (๓) แผนที่การเดินทางไปทรัพย์ที่จะยึด พร้อมสำเนา (๔) ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดโดยระบุขนาดกว้างยาว (๕) ราคาประเมินที่ดิน ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง ข้อ ๓๔/๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๔๕/๑ ว่าถูกต้องครบถ้วนเพียงพอที่จะดำเนินการยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการและประมาณราคาทรัพย์ที่จะยึดได้แล้วเสนอผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง เพื่อมีคำสั่งอนุญาต ข้อ ๔๕/๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์โดยจัดทำรายงานและบัญชีทรัพย์ที่ยึดพร้อมประมาณราคาทรัพย์ และให้ผู้นำยึดลงนามรับรอง ข้อ ๔๕/๔ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดำเนินการดังนี้ (๑) ปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่พร้อมรายงานสภาพของทรัพย์ที่ไปปิดประกาศ (๒) แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบ (๓) แจ้งการยึดและราคาประเมิน พร้อมส่งสำเนาหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบ --------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ และ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๔๔ บทที่
๔
รายงานการยึดทรัพย์และการขออนุญาตขายทรัพย์ต่อศาล -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๔๖ ให้ส่งรายงานการยึดทรัพย์พร้อมด้วยบัญชีทรัพย์ต่อศาลเป็นคราวๆ(๑) และขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดนั้น ถ้าเป็นการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาให้ขออนุญาตขายต่อเมื่อมีหมายบังคับคดีแล้ว หากทรัพย์ที่ยึดมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายได้ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาด หรือ วิธีอื่นที่สมควร แล้วรายงานให้ศาลทราบ --------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๔๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๓ ข้อ ๑, ๔ หมวดที่ ๓
การยึดทรัพย์นายประกัน (๑) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ (๒)(๓) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีอาญาซึ่งศาลมีคำสั่งปรับนายประกัน พร้อมหลักฐานประกอบการยึดทรัพย์และเงินประกันค่าใช้จ่ายจาก ผู้นำยึดแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามหมายบังคับคดีโดยเร็ว ข้อ (๔) ยกเลิก ข้อ (๕) ยกเลิก --------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒)(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๔ และ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.๒๕๔๘ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.๒๕๔๘ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวดที่ ๔(๑)
การยึดทรัพย์ในคดีแรงงาน -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๔๙/๑(๒) เมื่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาคหรือศาลแรงงานจังหวัดส่งหมายบังคับคดีมายัง กรมบังคับคดีหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวดำเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีนั้น และให้นำหมวด ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔๙/๒ เงินค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีให้เบิกจากงบประมาณของกรมบังคับคดี ข้อ ๔๙/๓ ถ้าผู้นำยึดตามที่ระบุในหมายบังคับคดีไม่นำเจ้าพนักงานไปยึดทรัพย์ตามวัน เวลานัด โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถนำยึดทรัพย์ด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว --------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวดที่ ๕(๑)
การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๔๙/๔ในคดีอาญาซึ่งจำเลยไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเมื่อศาลส่งหมายบังคับคดีมายังกรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว ดำเนินการตามหมายบังคับคดีนั้น และให้นำหมวด ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับคดีโดยอนุโลม ข้อ ๔๙/๕ เงินค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เบิกจากงบประมาณของกรมบังคับคดี ข้อ ๔๙/๖ ถ้าหมายบังคับคดีของศาลมิได้กำหนดผู้นำยึดก็ดี หรือกำหนดผู้นำยึดก็ดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชักช้า หากไม่สามารถทำการยึดด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวดที่ ๖
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย -------------------------------------------------------------------------------- บทที่ ๑ วิธีดำเนินการยึดทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๕๐(๑) การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ให้นำหมวดที่ ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๕๑(๒) เมื่อได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ทำการยึดทรัพย์ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง ดำเนินการยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั่วไป ข้อ ๕๒(๒) ถ้าผู้นำยึดในคดีล้มละลายไม่จัดการนำยึดทรัพย์ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่กองบังคับคดีแพ่งได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบทั้งนี้ไม่กินความถึงทรัพย์ที่มีเจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกัน เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ติดการจำนอง เป็นต้น ข้อ ๕๓ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือ ของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ ในคดีล้มละลาย ในการยึดทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้หรือที่ลูกหนี้ได้ครอบครองอยู่ และมีอำนาจหักพังเข้าไปในสถานที่นั้น ๆ รวมทั้งเปิดตู้นิรภัย ตู้ หรือ ที่เก็บของอื่น ๆ ตามที่จำเป็น ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีสงสัยว่าจะมีทรัพย์สินของลูกหนี้ซุกซ่อนอยู่ในเรือนโรงเคหสถาน หรือสถานที่อื่นอันมิใช่เป็นของลูกหนี้ ให้รายงานต่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง เพื่อแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอหมายค้นจากศาลต่อไป(๒) --------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๖๕/๒๕๓๑ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๑ และที่ ๒๘๔/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๓ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๔ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายดังต่อไปนี้ (๑) ทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย รวมทั้งสิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น เว้นแต่(๑) ก. เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจำเป็นแก่การดำรงชีพ ซึ่งลูกหนี้รวมทั้งภริยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้จำเป็นต้องใช้ตามสมควรแก่ฐานานุรูป และ ข. สัตว์ พืชพันธุ์ เครื่องมือและสิ่งของสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ราคารวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท (๒) ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย (๓) สิ่งของซึ่งอยู่ในครอบครอง หรือ อำนาจสั่งการ หรือ สั่งจำหน่ายของลูกหนี้ในทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้อันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทำให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้นั้นล้มละลาย ข้อ ๕๕(๑) ถ้าผู้นำยึดไม่ชี้ให้ยึดทรัพย์สิ่งใดอันอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี จดบัญชีรายละเอียดแห่งทรัพย์นั้นไว้เป็นบัญชีอีกประการหนึ่ง ต่างหากจากบัญชีทรัพย์ที่ผู้นำยึดชี้ และให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งส่งรายงานการยึดทรัพย์พร้อมด้วยบัญชีดังกล่าวแล้ว ไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
บทที่ ๒
วิธีปฏิบัติในคดีแพ่งคาบเกี่ยวกับคดีล้มละลาย (๒) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๕๖ เมื่อได้รับคำแจ้งความว่า ได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ตรวจดูว่าบุคคลนั้นถูกยึดทรัพย์ไว้ในคดีแพ่งบ้างหรือไม่ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบุคคลนั้นไว้ในคดีแพ่งแล้วแม้เพียงบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตามข้อ ๕๗ และข้อ ๖๐ ข้อ ๕๗ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จำหน่ายทรัพย์สินแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ล้มละลาย ก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหักไว้เป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าธรรมเนียมโจทก์ ในชั้นบังคับคดีเหลือค่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การส่งเงินดังว่านี้ จะงดรอไว้ในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และจะส่งต่อเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ได้ แต่ไม่ให้ส่งเกิน ๗ วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น --------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๘๕/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๒ ข้อ ๕๘(๑) ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้วแต่ยังไม่ทันขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งสำเนารายการบัญชีทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และรายงานให้ศาลทราบ ส่วนทรัพย์ที่ยึดนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้สั่งเป็นอย่างอื่นภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับสำเนาบัญชีรายการทรัพย์ ให้จัดการขายทอดตลาดต่อไปตามระเบียบเสมือนหนึ่งไม่มีคดีล้มละลายเกิดขึ้น แต่ให้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบด้วย เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์นั้นแล้ว ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี และค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการบังคับคดีไว้ เหลือเงินเท่าใดให้ส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ ๕๙ ถ้าบุคคลใดกล่าวอ้างว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่ง เมื่อบุคคลนั้นได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นนั้น และได้ส่งสำเนาคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงเหตุที่มีผู้ร้องขัดทรัพย์ และที่ต้องงดการขายทรัพย์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ข้อ ๖๐ ถ้าศาลวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่ยึดไว้ในคดีแพ่งเป็นของผู้ร้องและสั่งให้ถอนการยึดก็ดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ติดใจจะให้ยึดต่อไปก็ดี หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดด้วยเหตุใดๆก็ดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทราบก่อน
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๖๕/๒๕๓๑ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๘๔/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๓
หมวดที่ ๗
การรักษาทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- บทที่ ๑ ผู้รักษาทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๖๑(๑) ทรัพย์ที่ยึดไว้แล้วให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่กรมบังคับคดี(๒) แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของซึ่งลำบากต่อการขนย้ายให้มอบแก่บุคคลที่สมควรดูแลรักษาไว้ ในการที่จะให้ผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้น พึงถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายอมรับรักษาทรัพย์ที่ยึด และเจ้าพนักงานบังคับคดีคดีเห็นสมควรจะมอบทรัพย์นั้นไว้ในความอารักขาของเจ้าหนี้ก็ได้ (๒) ถ้าเจ้าหนี้ไม่รับรักษาทรัพย์ที่ยึด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรจะมอบไว้ในความอารักขาของบุคคลอื่น ซึ่งครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ หรือจะมอบไว้ในความอารักขาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายินยอมก็ได้ (๓) ถ้าไม่สามารถจะปฏิบัติดังกล่าวใน (๑) และ (๒) เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเช่าสถานที่เก็บทรัพย์ และจะจ้างคนเฝ้าทรัพย์นั้นไว้ก็ได้ ข้อ ๖๒ ในกรณียึดอัญมณี เครื่องทองรูปพรรณ หรือของมีค่าอื่นๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบแก่ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งเก็บรักษาทรัพย์นั้นไว้ในที่อันปลอดภัยตามที่เห็นสมควร(๓)
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๓๓๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๕๗/๒๕๒๗ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗ และ คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๑๑/๒๕๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๗ (๓) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๖๒/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๓๒ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วย การบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๖๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดไว้ในรายงานยึดทรัพย์โดยชัดแจ้งว่าได้จัดการเก็บรักษาทรัพย์นั้นอย่างไร และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ ค่าเช่าสถานที่เก็บทรัพย์ค่าจ้างดูแลรักษาทรัพย์เท่าใด ข้อ ๖๔ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีจ้างคนดูแลรักษาทรัพย์ ให้มีการตรวจตราอีกชั้นหนึ่งเมื่อปรากฏว่า คนดูแลรักษาทรัพย์ละเลยต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งปรับตามข้อสัญญาทุกครั้งที่ตรวจพบเบี้ยปรับในกรณีเช่นนี้ให้ถือเป็นเงินที่รวบรวมได้ในการบังคับคดีนั้น(๒) ในกรณีทรัพย์ซึ่งถูกยึดสูญหายไปเนื่องจากการกระทำความผิด(๒) ทางอาญาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดทุกเรื่อง(๒) บทที่ ๒
การเช่าที่เก็บทรัพย์และจ้างผู้รักษาทรัพย์ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๖๕ ให้ผู้รับรักษาทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนก็ดี หรือ ไม่มีค่าตอบแทนก็ดี หรือ ผู้ให้เช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ก็ดี ทำหนังสือสัญญากับผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง(๓) ข้อ ๖๖ ในกรณีที่มีการทำสัญญาเช่าสถานที่เก็บทรัพย์ หรือ จ้างบุคคลที่สมควรดูแลรักษาทรัพย์ที่ยึด เมื่อขายทรัพย์เสร็จหรือย้ายทรัพย์ไปเก็บที่อื่น หรือ ถอนการยึดทรัพย์ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งบอกเลิกสัญญานั้นเสีย(๓)
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๓๓๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ ข้อ ๕ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๓๓๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ ข้อ ๖ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวดที่ ๘
การขายทรัพย์(๑) -------------------------------------------------------------------------------- บทที่ ๑ วิธีขายทอดตลาด (๒) -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๖๗(๓) การขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการทำประกาศโดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะขาย เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์โดยเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร ผู้สั่งให้ขาย วัน เวลา และสถานที่ที่จะขาย ชื่อประเภท ลักษณะ จำนวน ขนาด และน้ำหนักแห่งทรัพย์นั้น ๆ เป็นต้น ถ้าเป็นที่ดิน ให้แจ้งเนื้อที่เขตกว้างยาว และ อยู่ตำบลอำเภอจังหวัดใดด้วย ถ้ามีข้อสัญญาและคำเตือนอย่างไรก็ให้ระบุไว้โดยชัดเจน ตามแบบของกรมบังคับคดีกับให้กำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาแห่งการชำระเงินไว้ตามนัยแห่งระเบียบข้อ ๘๕ ด้วย อนึ่ง ถ้าศาลกำหนดวิธีขาย หรือเงื่อนไขเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษอย่างไร ก็ให้ปฏิบัติตามนั้น ข้อ ๖๘(๔) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการส่งประกาศขายทอดตลาดแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๐ และให้ปิดประกาศขายทอดตลาดไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย สถานที่ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ที่ชุมนุมชนและสถานที่ราชการอันสมควรจะปิดไว้ก่อนวันขายไม่น้อยกว่า ๓ วัน อนึ่ง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรที่จะแจ้งความการขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับที่แพร่หลาย หรือโดยวิธีอื่นใดก่อนวันกำหนดวันขายก็ได้(๔)
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) ประกาศกรมบังคับคดีเรื่อง นโยบายการขยายตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดี ลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๗/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๘ ที่ ๑๔๖/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๐ และที่ ๙/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๘ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๐๖ /๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๑ และที่ ๓๕๗/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๘ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่๘) พ.ศ.๒๕๔๓ (๔) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๕๔/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ข้อ ๖๙(๑) การกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ตามปกติให้ถือเกณฑ์ดังนี้ (๑) ที่ดิน กำหนดไม่น้อยกว่า ๑ เดือน และไม่เกิน ๒ เดือน (๒) เรือน โรง สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และทรัพย์สินอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน และไม่เกิน ๑ เดือน ทั้งนี้ ให้นับตั้งแต่วันลงประกาศขายทอดตลาดเป็นต้นไป ข้อ ๗๐ ในการขายทรัพย์ที่มีดอกผลเกิดในระหว่างยึดทรัพย์ หรือ ทรัพย์ที่มีสัญญาผูกพันอันเป็นคุณแก่ทรัพย์นั้น หรือ มีค่าภาระติดพันเกี่ยวค้างอยู่ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกล่าวไว้ในประกาศขายทอดตลาดให้ชัดแจ้ง การขายทรัพย์ที่มีสัญญาผูกพันอยู่อันเป็นคุณแก่ทรัพย์นั้น ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถทำได้ ก็ให้จัดการให้ผู้ซื้อได้รับช่วงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นด้วย ข้อ ๗๑ การขายทอดตลาดสุรามีจำนวนน้ำสุราตั้งแต่ ๑๐ ลิตรขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ กรมสรรพสามิตทราบล่วงหน้าก่อนวันขายตามปกติไม่น้อยกว่า ๗ วัน เพื่อกรมสรรพสามิตจะได้จัดเจ้าพนักงาน มากำกับออกใบขนสุราให้แก่ผู้ซื้อ ข้อ ๗๒ ถ้าทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดเป็นโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป หรือ หนังสือฉบับเขียนโบราณเป็นต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปยังเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถาน สำหรับกรุงเทพมหานคร ๑ ฉบับ ข้อ ๗๓ ถ้าทรัพย์ที่จะขายเป็นตู้นิรภัย หีบ หรือกำปั่นเหล็กเก็บทรัพย์ และปรากฏว่ายังเปิดไม่ได้ ให้จัดการเปิดเสียก่อน จึงจะขายทอดตลาดได้ ข้อ ๗๔ การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีการจำนองติด ให้ขายโดยวิธีการตามที่ศาลสั่งกำหนด ถ้าศาลมิได้กำหนดอย่างใด ให้ขายอย่างบังคับจำนอง หรือจำนองติดไป หรือตั้งราคาขั้นต่ำโดยความยินยอมของคู่กรณีทุกฝ่ายแล้วแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเห็นสมควร ในการขายทรัพย์สินที่มีการจำนำติด ให้ปฏิบัติอย่างวิธีการขายทรัพย์ที่มีการจำนองติดโดยอนุโลม
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๖/๒๕๒๙ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๙ ข้อ ๗๕ การขายทรัพย์อย่างบังคับจำนอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายอย่างการขายทรัพย์ธรรมดา โดยไม่คำนึงถึงการจำนอง(๑) ข้อ ๗๖ การขายทรัพย์อย่างการจำนองติดไป ให้ประกาศแสดงชื่อผู้รับจำนองพร้อมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระจนถึงวันขาย และข้อความว่าผู้ใดซื้อทรัพย์นั้น ต้องรับภาระจำนองติดไปด้วยโดยชัดเจน ข้อ ๗๗ การขายทรัพย์จำนองโดยวิธีตั้งราคาขั้นต่ำ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดราคาขั้นต่ำที่จะขายลงไว้ในประกาศ โดยคำนวณต้นเงินและดอกเบี้ยจำนองซึ่งยังค้างชำระแก่ผู้รับจำนองจนถึงวันขาย กับค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีอันเกี่ยวแก่ทรัพย์รายนั้น ข้อ ๗๘ การขายที่ดินที่มีชื่อผู้อื่นนอกจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยในหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินส่วนได้ของผู้นั้นไว้เพื่อจ่ายแก่ผู้ควรจะได้รับต่อไป ข้อ ๗๙ ผู้ซื้อที่ดินซึ่งจะขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อได้(๒) คือ (๑) ผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำพิพากษาในคดีนั้นด้วย (๒) เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์เหนือที่ดินที่ขายตามคำชี้ขาดของศาล ข้อ ๘๐ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ณ สถานที่ใดนั้น ตามปกติให้ปฎิบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้(๓) (๑) ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ขายทอดตลาด ณ ที่ทำการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี (๒) ที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครให้ขอร้องไปยังสำนักงานบังคับคดีจังหวัด ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่เพื่อให้จัดการขายทอดตลาดแทนเว้นแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะร้องขอให้ขาย ณ ที่ทำการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีโดยมีเหตุอันสมควร (๓) บ้าน เรือนโรง สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งมิได้ยึดรวมกับที่ดินด้วยให้ขาย ณ ที่ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ (๔) ทรัพย์สินอื่น ๆ ให้ขาย ณ ที่ทำการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี หรือสถานที่ที่เก็บ ทรัพย์นั้น หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นสมควร
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๘๒/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๔๙/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๓ ข้อ ๒ (๓) หนังสือที่ ยธ ๐๓๐๑/๑๖๒๗-๑๖๓๔ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ (๔) แก้ไขโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๘๑ ก่อนตั้งต้นขายทอดตลาด(๑) ให้เจ้าพนักงานผู้ขายปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี และอ่านประกาศโฆษณาการขายทอดตลาด ณ สถานที่ขายทรัพย์โดยเปิดเผย ข้อ ๘๒ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามปกติให้เจ้าพนักงานแสดงความตกลงขายด้วยวิธีเคาะไม้(๒) ข้อ ๘๓ ตามปกติให้ผู้ขายร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่ง ๓-๔ หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคาสูงขึ้นให้เปลี่ยนร้องขานเป็นครั้งที่สองอีก ๓-๔ หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้นและได้ราคาพอสมควรก็ให้ลงคำสามพร้อมกับเคาะไม้ แต่ถ้าก่อนเคาะไม้มีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีกให้ร้องขานราคานั้นตั้งต้นใหม่ตามลำดับดังกล่าวแล้ว ข้อ ๘๔ ถ้าผู้สู้ราคาถอนคำสู้ราคาของตนเสียก่อนเจ้าพนักงานเคาะไม้ ให้เจ้าพนักงานผู้ขายตั้งต้นร้องขายใหม่ ข้อ ๘๕(๓) การขายทอดตลาดทรัพย์สินตามปกติ เมื่อเจ้าพนักงานผู้ขายเคาะไม้ตกลงขายแล้ว ผู้ซื้อต้องชำระเงินทันทีเว้นแต่ที่ดินหรือทรัพย์อย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาท ขึ้นไป เจ้าพนักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลาไม่เกิน ๑๕ วันก็ได้ เมื่อได้ชำระเงินครบถ้วนแล้วจึงให้โอนมอบทรัพย์นั้นแก่ผู้ซื้อไป หากทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงมากหรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น อธิบดีกรมบังคับคดีอาจขยายกำหนดเวลาชำระเงินดังกล่าวข้างต้นได้ตามที่เห็นสมควร(๔) ในกรณีที่เจ้าพนักงานขายมีเหตุสงสัยว่า ผู้ใดจะไม่สู้ราคาโดยสุจริตก็ดี หรือไม่สามารถจะชำระราคาได้ก็ดี ให้เจ้าพนักงานจัดการสอบถามผู้นั้นเสียก่อนจึงเคาะไม้ก็ได้
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๒๑/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๐๖/๒๕๔๑ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๑ ที่ ๓๕๗ /๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๘ และประกาศกรมบังคับคดี เรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดี ลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๐ และใช้ ข้อความใหม่ดังพิมพ์ไว้นี้ (๔) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๑๗/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๓ ข้อ ๘๖ การขายทอดตลาดทรัพย์ประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครอง จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายเสียก่อน เช่น อาวุธปืน เป็นต้น ให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำไว้ไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของราคาซื้อ และจัดการนำใบอนุญาตมาแสดงภายใน ๑ เดือนพร้อมทั้งใช้เงินที่ค้างชำระให้ครบถ้าพ้นกำหนดนี้แล้วผู้ซื้อนำใบอนุญาตมาแสดง ไม่ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่ได้ ข้อ ๘๗ ให้เจ้าพนักงานผู้ขายรายงานเหตุการณ์อันเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในสำนวนทุกคราว ถ้าขายที่ดินหรือทรัพย์สินที่มีราคามาก ให้เจ้าพนักงานผู้ขายบันทึกไว้ในสมุดขายทอดตลาดให้ปรากฏ วัน เดือน ปีที่ขาย จำนวนบุคคลซึ่งมาฟังการขายและสู้ราคาตลอดจนจำนวนเงินที่สู้ราคากันเป็นลำดับด้วย ข้อ ๘๘(๑) เมื่อการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานผู้ขายได้เคาะไม้แล้ว ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระเงินหรือไม่วางเงินมัดจำตามข้อสัญญา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก และแจ้งให้ผู้ซื้อทราบกำหนดวัน เวลาขายด้วย ได้เงินเท่าใดเมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าขายทอดตลาดครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการเรียกร้องให้ผู้ซื้อเดิมชำระเงินส่วนที่ยังขาดนั้น ตลอดจนเสนอคดีต่อศาลหากจำเป็น ข้อ ๘๙ เมื่อใดเจ้าพนักงานผู้ขายเห็นว่า ราคาซึ่งมีผู้ให้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอเจ้าพนักงานผู้ขายอาจถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้ แต่ถ้าผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนยินยอมให้ขายก็อาจขายไปได้
บทที่ ๒
วิธีประมูล -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๙๐ เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการประมูลทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนัดคู่ความ ผู้มีส่วนได้เสียในคดีนั้นมาตรวจสอบและกำหนดทรัพย์สินและฟังวันนัดประมูล ถ้าเป็นที่ดินให้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปรังวัดสอบเขตเสียก่อน
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๗/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๘ ข้อ ๙๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดบันทึกรายงานการประมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ ต่อหน้าคู่ความแล้วให้ คู่ความทุกฝ่ายลงนามไว้เป็นหลักฐาน ผู้ใดประมูลให้ราคาสูงสุดผู้นั้นเป็นผู้ประมูลได้ ผู้ประมูลจะขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ประมูลได้ไม่เกินจำนวนเงินที่จะได้รับในคดีนั้น บทที่ ๓ การโอนและส่งมอบ -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๙๒ ภายใต้บังคับข้อ ๘๖ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อชำระเงินครบถ้วนแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบทรัพย์นั้นให้ผู้ซื้อไปได้ ถ้าเป็นทรัพย์ที่จะต้องแก้ทะเบียนชื่อผู้เป็นเจ้าของ เช่น อาวุธปืน รถ เรือ เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ๆ จัดการแก้ทะเบียนให้ด้วย ส่วนที่ดินหรือโรงเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจัดการโอน(๑)
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๓๙/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวดที่ ๙
การงดหรือการถอนการบังคับคดี(๑) -------------------------------------------------------------------------------- บทที่ ๑ การงดการบังคับคดี -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๙๓ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้ (๑) เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและได้ส่งคำสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไขตามศาลกำหนดไว้ (๒) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนตกลงงดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะที่กำหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง (๓) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๔ (๔) เมื่อได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์จากศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดีนั้นให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียทราบเว้นแต่จะได้งดการบังคับคดี ตามคำขอของบุคคลเหล่านั้นเอง ข้อ ๙๔ ถ้าได้งดการบังคับคดีไว้ตามข้อ ๙๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อศาลสั่ง หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่อนคำขอให้ดำเนินการบังคับคดีหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินค่าใช้จ่ายการบังคับคดี หรือเมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลให้ยกคำร้องขัดทรัพย์แล้วแต่กรณี
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๔๑๑/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๓
บทที่ ๒
การถอนการบังคับคดี -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๙๕ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้ (๑) เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (๒) ศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดี (๓) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้นจะพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (๔) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ข้อ ๙๖ ภายใต้บังคับข้อ ๙๗ เมื่อได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ถ้าได้ถอนการบังคับคดีทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วน แล้วแต่กรณีมอบคืนแก่ผู้ถูกยึดไปเว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น และให้แจ้งการถอนการยึดแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมทั้งผู้ที่รับอายึดทรัพย์นั้นด้วย ถ้าหากมี แล้วรายงานให้ศาลทราบ ข้อ ๙๗(๑) ในกรณีถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์ ให้เรียกค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วจึงถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๙/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๒
หมวดที่ ๑๐
วิธีรับและจ่ายเงิน -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๙๘ การรับเงินค่าขายทรัพย์นอกที่ทำการกรมบังคับคดี เมื่อได้รับเงินแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ และเมื่อเสร็จการขายวันหนึ่ง ๆ ให้ทำบัญชีรายงานขายทรัพย์ส่งผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง พร้อมทั้งจำนวนเงินและสำเนาคู่สอบใบเสร็จรับเงิน แล้วนำเงินส่งกองคลัง กรมบังคับคดีในวันเดียวกัน(๓) ข้อ ๙๘ ทวิ(๑) การรับเงินค่าขายทรัพย์ ณ ที่ทำการบังคับคดี เมื่อได้รับเงินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงิน กองคลัง ออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงินร่วมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย และเมื่อเสร็จการขายวันหนึ่ง ๆ ให้ทำบัญชีรายการขายทรัพย์ส่งผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง พร้อมทั้งจำนวนเงินและสำเนาคู่สอบใบเสร็จรับเงิน แล้วนำเงินส่งกองคลังกรมบังคับคดีในวันเดียวกัน(๓) ข้อ ๙๙(๒) การรับเงินนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๙๘ และ ๙๘ ทวิ ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจดรายงานการรับเงินแล้ว ให้กองคลังรับเงินและออกใบรับเงินให้ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงินร่วมกับผู้อำนวยการกองคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายใบรับเงินนั้นให้มีสำเนา ๓ ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชำระหรือผู้นำส่งเงิน ส่วนสำเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสำนวนไว้ฉบับหนึ่งอีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว เมื่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งและผู้อำนวยการกองคลังเห็นสมควรอาจรับเงินเป็นเช็คหรือตั๋วแลกเงินก็ได้แต่ต้องเป็นเช็คหรือตั๋วแลกเงินที่ธนาคารสั่งจ่าย หรือเช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามกรมบังคับคดี และในกรณีเช่นนี้ให้จดเลขหมายเช็คลงในใบรับเงินด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) ความเดิมถูกยกเลิกโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘ และใช้ข้อความใหม่ดังพิมพ์ไว้นี้ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๐๐ ให้กองคลังมีหน้าที่จัดทำบัญชีเกี่ยวกับการรับเงินไว้โดยครบถ้วน ตามระเบียบของทางราชการ ข้อ ๑๐๑ เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ให้ผู้อำนวยการกองคลังตรวจสอบตัวเงินหรือเอกสารแทนตั๋วเงินกับบัญชีให้ถูกต้องตรงกัน ข้อ ๑๐๒ การชำระเงินด้วยเช็ค เมื่อเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้กองคลังจำหน่ายเช็คจากบัญชีแล้วแจ้งให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งทราบโดยพลัน เพื่อจัดการให้ผู้ชำระหรือผู้นำส่งชำระเงินตามเช็คนั้น หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ข้อ ๑๐๓(๑) เงินค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้กองคำนวณและเฉลี่ยทรัพย์คิดคำนวณตามกฎหมาย และลงบัญชีแยกประเภทไว้โดยครบถ้วนและทุก ๓ เดือน ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อส่งเงินต่อกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๑๐๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เสร็จและพ้นระยะเวลาขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และระยะเวลากักเงินตามพระราชบัญญัติล้มละลายแล้วให้ทำบัญชีรับจ่ายแสดงจำนวนเงินที่ได้ยึดหรือได้มาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน หรือที่วางไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี เหลือเงินสุทธิเท่าใดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล ข้อ ๑๐๕ ถ้าปรากฏว่าศาลพิพากษาหรือสั่งโดยจำเลยขาดนัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงินไว้จนกว่าระยะ ๖ เดือนจะได้ล่วงพ้นไป นับแต่วันยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๐๖ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำขอเฉลี่ย หรือคำขอบุริมสิทธิจากศาลให้งดจ่ายเงินในคดีนั้นไว้รอคำวินิจฉัยของศาลก่อน หรือถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาล้มละลายหรือ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามข้อ ๕๗ และ ๕๘ ข้อ ๑๐๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำสั่งของศาลซึ่งยอมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนใดได้ส่วนเฉลี่ย หรือยอมให้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่จำหน่ายดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีรับจ่ายแสดงจำนวนเฉลี่ยที่จะจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนจากจำนวนเงินสุทธิที่พอแก่การที่จะจ่ายให้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เหล่านั้น แล้วส่งคำบอกกล่าว ไปยังเจ้าหนี้เพื่อให้ตรวจสอบบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น ถ้าเจ้าหนี้จะคัดค้านให้ยื่นข้อคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน ๗ วันนับแต่วันได้รับคำบอกกล่าว มิฉะนั้น ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้นเป็นที่สุด
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ ๑๐๘ ในกรณีที่มีการแบ่งส่วนเฉลี่ยเงิน ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายเรียก ให้เจ้าหนี้ทุกคนมา ณ กองคลังกรมบังคับคดีตามวันเวลาที่กำหนดในหมาย แต่ต้องให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน เมื่อได้ฟังคำแถลงและฟังคำชี้แจงของเจ้าหนี้ที่มาตามหมายแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำคำสั่งยืน หรือแก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ย แล้วอ่านให้เจ้าหนี้ฟัง และให้เจ้าหนี้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน แล้วส่งคำสั่งนั้นไปยังเจ้าหนี้ที่มิได้มา ถ้าหากมีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงินไว้มีกำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่ได้อ่านหรือ ส่งคำสั่งแล้ว แต่กรณี ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งมาตามหมายยินยอมตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และถ้าเจ้าหนี้ผู้ไม่มาซึ่งมีสิทธิคัดค้านคำสั่งมิได้คัดค้านภายในกำหนดในวรรคก่อนให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยถึงที่สุด ถ้าเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิคัดค้านยื่นคำคัดค้านให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการจ่ายเงินในส่วนที่เกี่ยวกับการคัดค้านไว้รอคำวินิจฉัยของศาล ข้อ ๑๐๙ ในกรณีที่ไม่มีการแบ่งส่วนเฉลี่ยเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้ในกรณีต่อไปนี้ คือ (๑) พ้นกำหนดขอเฉลี่ยตามมาตรา๒๙๐แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือพ้นกำหนดกักเงินตามมาตรา ๑๑๐, ๑๑๑ และ ๑๑๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (๒) ในคดีซึ่งศาลพิพากษาหรือสั่งโดยจำเลยขาดนัด แต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแสดงให้ศาลเป็นที่พอใจ ว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบถึงคดีซึ่งขอให้มีการบังคับแล้ว ข้อ ๑๑๐ ภายใต้บังคับแห่งข้อ ๑๐๘ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า หากเลื่อนการจ่ายส่วนเฉลี่ยไปจนกว่าจะได้จำหน่ายทรัพย์สินที่ประสงค์จะบังคับทั้งหมด หรือจนกว่าการเรียกร้องทั้งหมดที่มาสู่ศาลได้เสร็จเด็ดขาดแล้ว จะทำให้ผู้มีส่วนเฉลี่ย ในเงินรายได้แห่งทรัพย์สินที่บังคับนั้นทุกคน หรือคนใดคนหนึ่งได้รับความเสียหาย เมื่อผู้ส่วนได้เสียร้องขอ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิที่จะแบ่งเงินรายได้เท่าที่พอแก่การที่จะจ่ายให้โดยวิธีดังกล่าวในข้อ ๑๐๗ และข้อ ๑๐๘ ในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กันเงินไว้สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด ในการบังคับคดีที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นต่อไป และสำหรับชำระการเรียกร้องใด ๆ ที่มีข้อโต้แย้งไว้แล้ว ข้อ ๑๑๑(๑) การขอรับเงินไม่ว่าเงินประเภทใด ผู้มีส่วนได้ต้องยื่นคำขอรับเงินต่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งเพื่อขออนุมัติก่อน เว้นแต่จะมีการสั่งอนุมัติไว้แล้วในบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ย แล้วให้ผู้มีส่วนได้นั้นทำใบรับเงินและให้กองคลังจัดทำใบสั่งจ่ายเงินให้อธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงิน หรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ย แล้วแต่กรณีว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใดไป แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้กองคลังจัดการลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสำนวน
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๔๔ ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ขอรับเงินมิใช่ผู้มีส่วนได้อันแท้จริง เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจสั่งให้ผู้ขอรับเงินหาผู้รับรองมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะให้ตัวแทนมารับเงิน อาจสั่งให้ตัวการมารับเงินเองก็ได้ ข้อ ๑๑๒ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่งแล้ว ในกรณีที่ยังมีเงินเหลือ และเงินที่เหลือนั้นถ้าศาลได้มีสั่งประการใดไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามคำสั่งนั้น ถ้าไม่มีคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่ถ้าทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก ที่มีต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ให้พิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๒ ประกอบ) ถ้าได้จำหน่ายสังหาริมทรัพย์ไปแล้วตามมาตรา ๒๘๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อมีคำสั่งศาลถึงที่สุดเป็นคุณแก่ผู้เรียกร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่จำหน่ายได้แก่ผู้เรียกร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่จำหน่ายได้แก่ ผู้เรียกร้องนั้น ข้อ ๑๑๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่ผู้เยาว์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ลงนามใน ใบรับเงิน และถ้าสามารถทำได้ก็ให้ผู้เยาว์ลงนามด้วย ข้อ ๑๑๔ เมื่อได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ในคราวใดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลแสดงรายการรับและจ่ายเงินในคราวนั้น ๆ
หมวดที่ ๑๑
เบ็ดเตล็ด -------------------------------------------------------------------------------- ข้อ ๑๑๕ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการบังคับคดี ตามปกติให้เป็นหน้าที่ของพนักงาน เดินหมาย งานเดินหมายและประกาศ สำนักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดีเป็นผู้ส่ง แต่ในกรณีรีบด่วนอาจให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในกองของตนเป็นผู้ส่งก็ได้ ในกรณีที่ผู้รับมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ส่งคำคู่ความหรือเอกสารไปขอให้สำนักงานบังคับคดีจังหวัดท้องที่ดำเนินการส่งแทนหรืออาจจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้(๑) วิธีการส่งให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการส่งคำคู่ความเอกสารและสำนวน พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑๑๖ เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นพิเศษ เช่น ไปตรวจสอบหรือตีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกค่าป่วยการจากบุคคลที่ขอให้กระทำการนั้น ๆ ได้ในอัตราตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น ข้อ ๑๑๗ ในการยึดหรือขายทรัพย์ ผู้นำต้องเสียค่าป่วยการและค่าพาหนะให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น ข้อ ๑๑๘ ในการยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ยื่น หรือผู้ส่งจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์ตาม ที่กรมบังคับคดีได้จัดไว้ โดยปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอย่างใด ให้ผู้มีหน้าที่รับทราบคำสั่งลงลายมือชื่อไว้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้ ข้อ ๑๑๙(๑) เมื่อได้รับหมายบังคับคดีจากศาล ให้เจ้าหน้าที่ธุรการกองบังคับคดีแพ่งจัดหน้าปกสำนวนไว้ทุกเรื่องแล้วลงบัญชีไว้ เพื่อส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๒๐(๑) เมื่อศาลส่งสำนวนความมาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำสั่งศาลให้เจ้าหน้าที่ธุรการ กองบังคับคดีแพ่ง คัดสำเนาคำสั่งไว้ในสำนวนของเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมด้วยวันเดือนปีที่ทราบคำสั่งในสำนวนความ แล้วส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำสั่งนั้น ข้อ ๑๒๑(๑)การยืมหรือคืนสำนวนความของศาล ให้เจ้าหน้าที่ลงบัญชีไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และเก็บสำนวนความนั้นไว้ในที่ปลอดภัย
--------------------------------------------------------------------------------
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒๒ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการกองบังคับคดีแพ่ง ลงบัญชีสำนวนบังคับคดี และเก็บรักษาไว้ในที่อันปลอดภัย ถ้าสำนวนใดได้จัดการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้วจะแยกไว้ต่างหากก็ได้ แต่ต้องมีปกสำรองไว้แทนที่เพื่อความสะดวกในการค้นหา ข้อ ๑๒๓ เมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับประสงค์จะตรวจหรือคัดสำนวนบังคับคดีให้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อ ๑๒๔(๑) เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น โฉนด สัญญาจำนอง หรือใบหุ้น เป็นต้น ให้เจ้าหน้าที่ธุรการ กองบังคับคดีแพ่ง มีหน้าที่เก็บรักษาโดยลงบัญชีแล้วใส่ซองลงหมายเลขลำดับที่เก็บและจดรายการที่หน้าซองพร้อมทั้งชื่อโจทก์จำเลย และสาขาคดีแล้วเก็บไว้ในที่อันปลอดภัย ถ้าได้จ่ายหนังสือสำคัญให้แก่ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อไว้ในบัญชีเป็นหลักฐาน ข้อ ๑๒๕(๑) การเก็บรักษาทรัพย์ เป็นหน้าที่ของสำนักงานวางทรัพย์กลาง โดยให้เจ้าหน้าที่ทำบัญชีรายการและปิดเลขหมายไว้ แล้วเก็บรักษา ณ สถานที่เก็บทรัพย์ของกรมบังคับคดี และหมั่นตรวจดูอย่าให้เกิดการเสียหายขึ้น เมื่อจำหน่ายหรือคืนทรัพย์สิ่งใดให้ลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน(๒) อนึ่ง เพื่อความปลอดภัยแก่การเก็บรักษาทรัพย์ที่มีราคาสูง ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง จะสั่งให้เก็บรักษา ณ สถานที่อื่นซึ่งปลอดภัยกว่า ก็ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้โดยรับอนุมัติจากอธิบดีกรมบังคับคดี ข้อ ๑๒๖(๑) เมื่อสิ้นปีหนึ่ง ๆ ให้กองบังคับคดีแพ่ง และกองคลังทำรายงานแสดงกิจการที่ได้กระทำมาตลอดปีส่งอธิบดีกรมบังคับคดี ๑ ชุด ข้อ ๑๒๗ เมื่อระเบียบนี้ได้ใช้บังคับแล้ว ระเบียบหรือคำสั่งใดอ้างถึงระเบียบราชการกองหมาย หรืออ้างถึงข้อหนึ่งข้อใดแห่ง ระเบียบราชการกองหมาย ให้ถือว่าระเบียบหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงระเบียบนี้ หรือข้อบัญญัติแห่งระเบียบนี้ที่มีนัยเช่นเดียวกันแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒๘ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๒ (ลงชื่อ) สุธรรม ภัทราคม นายสุธรรม ภัทราคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม -------------------------------------------------------------------------------- (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๔๔ (๒) คำสั่งกรมบังคับคดีที่ ๑๖๒/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๓๒ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
รองรับการทำงานบน Microsoft Internet Explorer 11 หรือ Google Chrome, Firefox, Safari ล่าสุด |
| Website Policy | Security Policy | Privacy Policy | Sitemap | |
สถิติผู้เข้าชม วันนี้ : ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
Copyright By Legal Execution Department |