Page 13 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 13
ฎีกาที่ 508/2506 ผู้ซื้อทรัพย์จาการขายทอดตลาดตามคำาสั่งศาลไว้โดยสุจริต ถึงแม้จะยังไม่ได้ทำานิติกรรมโอน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิและมีอำานาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินแปลงนั้นให้ออกไปได้ ป.พ.พ. มาตรา 1330
เป็นบทกฎหมายกำาหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำาสั่งศาลไว้เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปดังที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามมาตรา 456
ฎีกาที่ 132/2477 ผู้ซื้อที่ดินซึ่งศาลสั่งขายทอดตลาดไว้โดยสุจริตแม้จะยังไม่ได้โอนโฉนดกันก็ได้กรรมสิทธิ์
ที่ดิน โฉนด แผนที่ที่ซื้อขาย ซื้อที่ดินโฉนดแผนที่ซึ่งศาลสั่งขายทอดตลาดนั้นแม้ยังไม่ได้รับการโอนโฉนด ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิ
ในที่รายนั้นดีกว่าผู้อื่น
ข้อสังเกต
จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจำานองและระเบียบคำาสั่งเกี่ยวกับเงื่อนไขในการเข้าเสนอราคา ของผู้ซื้อทรัพย์
จากการขายทอดตลาดโดยติดภาระจำานองผู้เขียนมีข้อสังเกตดังนี้
1. ผู้ซื้อทรัพย์อาศัยช่องว่างของกฎระเบียบในการวางหลักประกันในการเข้าสู้ราคาเพียงเล็กน้อยเข้ามาเสนอราคา
เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในฐานะผู้รับโอนโดยการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
2. การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการกำาหนดราคาสมควรขายและวางหลักประกันในการเข้าเสนอราคา
ของผู้ซื้อทรัพย์โดยติดภาระจำานอง มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำาให้เกิดการใช้ดุลพินิจที่
อาจจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้เจ้าของทรัพย์จำานองได้
3. บทบัญญัติแห่งกฎหมายมิได้บังคับให้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดภาระจำานองต้องไปไถ่ถอนจำานอง
เพียงแต่ให้สิทธิ์ผู้ซื้อทรัพย์ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินที่ติดจำานองสามารถไถ่ถอนจำานองต่อเจ้าหนี้จำานองได้โดยการขอ
ใช้เงินเป็นจำานวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินเท่านั้น
4. ประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่กำาหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์โดยติดภาระจำานองมีหน้าที่
ต้องไปชำาระหนี้จำานองอีกส่วนหนึ่ง แต่มิได้วางมาตรการหรือเงื่อนไขอื่นใดว่าหากผู้ซื้อไม่ชำาระภาระหนี้จำานองส่วนที่เหลือแล้ว
ผู้ซื้อจะต้องได้รับผลทางกฎหมายอย่างไร
12
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม