Page 16 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 16
รอบรู้
ด้านการบังคับคดี
โดย...นายปิยชาต สงวนหงษ์
ผู้อำานวยการสำานักงานบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี
“การบังคับคดีสำาเร็จบริบูรณ์”
กับ “การบังคับคดีเสร็จลง”
เหมือน หรือแตกต่างกัน
อย่างไร
สำาหรับชาวกรมบังคับคดี ย่อมคุ้นเคยกับทั้งสองคำาดังกล่าว แต่สำาหรับท่านที่ไม่ได้มาสัมผัสกับงานบังคับคดีแพ่ง
งานบังคับคดีล้มละลาย หรือติดต่อในงานคดีกับกรมบังคับคดีบ้างนาน ๆ ครั้ง หรือน้อง ๆ ชาวกรมบังคับคดีที่เพิ่งเข้ามา
ปฏิบัติงานใหม่ ๆ อาจจะเห็นว่าเหมือนกัน เพราะพิจารณาเผิน ๆ ความหมายของมันก็น่าจะหมายถึง การบังคับคดีได้เสร็จสิ้นแล้ว
แต่คำาทั้งสองคำาดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายที่แตกต่างกันสิ้นเชิง โดย “การบังคับคดีสำาเร็จบริบูรณ์” ถูกบัญญัติไว้ใน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ส่วน “การบังคับคดีเสร็จลง” ถูกบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง และความหมายของคำาทั้งสองดังกล่าวก็ถูกแปลความในแง่ของการใช้กฎหมายที่แตกต่างเช่นเดียวกัน
คำาว่า “การบังคับคดีสำาเร็จบริบูรณ์” มีปรากฏอยู่ใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 110
วรรคแรก “คำาสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น
จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำาเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำาสั่ง
พิทักษ์ทรัพย์” นั่นหมายถึงว่า คำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้ยันต่อการบังคับคดีได้ หากการบังคับคดีได้สำาเร็จบริบูรณ์ก่อน
1
วันที่ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
1 สมชัย ฑีฆาอุตมากร พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้า ๕๗๕-๕๗๖
15
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม