Page 75 - รายงานประจำปี 2563 กรมบังคับคดี
P. 75
สาระส�าคัญของร่างพระราชบัญญัติที่ขอแก้ไขมีสาระส�าคัญโดยสังเขป ดังนี้
หมวด 3/1 แก้ไขจ�านวนหนี้ของลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากส่งผลให้ค่าของเงิน
มีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ทุนทรัพย์ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในหมวด 3/1 ที่เป็นบริษัทจ�ากัด
บริษัทมหาชนจ�ากัด หรือนิติบุคคลอื่นตามกฎกระทรวง ก�าหนดให้ลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการมี
จ�านวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งจ�านวนหนี้ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพธุรกิจและค่าเงินในปัจจุบันจึง
ได้เสนอแก้ไขในจ�านวนหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการจากลูกหนี้ที่มีจ�านวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
เป็นลูกหนี้ที่มีจ�านวนหนี้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท
หมวด 3/2
1. แก้ไขค�านิยามของลูกหนี้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หมวด 3/2 กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในบทนิยามของลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ว่าลูกหนี้จะต้องขึ้นทะเบียนกับส�านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมหรือจดทะเบียน
กับหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของกิจการซึ่งเป็นวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม SMEs
กฎกระทรวงก�าหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม พ.ศ. 2562 ได้มีการก�าหนดลักษณะกิจการใน
ภาคธุรกิจไว้ว่าจะต้องเป็นธุรกิจภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคบริการมีการก�าหนดจ�านวนการจ้างงานและราย
ได้ไว้เป็นจ�านวนเท่าใด ดังนั้น เมื่อพิจารณาภาคธุรกิจทั้ง 3 ภาคแล้วจะเห็นได้ว่า ครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท
ส�าหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ SMEs หรือฟื้นฟูบริษัทในหมวด 3/1 กฎกระทรวงดัง
กล่าวไม่ได้ก�าหนดว่าผู้ประกอบการในภาคธุรกิจการผลิต ภาคการค้าและภาคบริการ ที่จะเป็นวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมต้องขึ้นทะเบียนกับ สสว. เสียก่อนจึงจะถือเป็นผู้ประกอบการ SMEs แต่อย่างใด
อีกทั้งกฎหมายฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในหมวด 3/2 ยังก�าหนดให้
ลูกหนี้ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐแม้ไม่ขึ้นทะเบียนกับส�านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ SMEs ได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากกฎกระทรวงก�าหนดคุณสมบัติ
วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม พ.ศ. 2562 แล้วจึงควรเปิดกว้างให้ธุรกิจทั้งภาคการผลิต การค้า การบริการ
ไม่จ�าเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับ สสว. หรือหน่วยของรัฐอื่นก็สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ เป็นการลดภาระ
ให้แก่ผู้ประกอบการในเรื่องการขึ้นทะเบียนหรือการจดทะเบียนจึงได้เสนอขอแก้ไขบทนิยามของลูกหนี้จากเดิม
เป็น “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญ
นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจ�ากัดบริษัทจ�ากัด หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง
และกลางขนาดย่อม
2. ลดและเพิ่มจ�านวนหนี้ที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในหมวด 3/2 ลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ หากเป็นบุคคลธรรมดา
จะต้องมีหนี้จากการด�าเนินกิจการไม่น้อยกว่าสองล้านบาทในส่วนของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนต่างๆ หรือ
นิติบุคคลอื่นตามที่ก�าหนดในกดกระทรวง ต้องมีจ�านวนมีหนี้จากการด�าเนินกิจการ ไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
และส�าหรับบริษัทจ�ากัดต้องมีจ�านวนหนี้ไม่น้อยกว่าสามล้านบาทแต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท เมื่อพิจารณาถึงสภาพ
เศรษฐกิจในปัจจุบันเห็นว่าผู้ประกอบการ SMEs มีจ�านวนมากที่มีจ�านวนหนี้ไม่ถึงหนึ่งล้านบาทและบางส่วนมี
จ�านวนหนี้มากกว่า 10 ล้านบาท ดังนั้น ควรจะเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่บวนการฟื้นฟูกิจการโดย
ไม่ต้องก�าหนดจ�านวนหนี้ขั้นต�่าแต่ในหนี้ขั้นสูง เนื่องจากการฟื้นฟูในหมวด 3/1 ได้มีการเพิ่มทุนทรัพย์ในการเข้าสู่
กระบวนการฟื้นฟูต้องมีจ�านวนหนี้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทในการฟื้นฟูวิสาหกิจที่เป็นขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (SMEs) จึงต้องก�าหนดจ�านวนหนี้ในการเข้าสู่การ ฟื้นฟูกิจการ SMEs เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดรับกับหมวด3/1
จึงเสนอแก้ไขไม่ก�าหนดจ�านวนหนี้ขั้นต�่าในการเข้าสู่ กระบวนการฟื้นฟู SMEs และก�าหนดจ�านวนหนี้ขั้นสูง
74