Page 12 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 118 - กรมบังคับคดี
P. 12

รอบรู้               โดย...นิรมล  สุขวิไล
                                      ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักง�นบังคับคดีจังหวัดร�ชบุรี

             ด้านการบังคับคดี






















                                    คำ าสั่งห้ามชั่วคราว



                         ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


                    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

                                   (ฉบับที่ 30)  พ.ศ. 2560





               ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
          วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 โดยลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2560 มีผลใช้บังคับ
          เมื่อพ้น 60 วัน จึงมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

          ความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งที่ใช้บังคับคดีอยู่ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
          ในปัจจุบัน ซึ่งมีบทบัญญัติหลายมาตราที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายให้ชัดเจนและคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น



                  มาตรา 296 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ก็เป็นมาตรา
             หนึ่งที่มีการบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยเทียบเคียงกับมาตรา 282 ประมวลกฎหมายวิธี

             พิจารณาความแพ่ง (ฉบับเดิม) อันเป็นการกำาหนดไว้ในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน ส่วนที่ 1 อำานาจของเจ้าพนักงาน
             บังคับคดี ตามบทบัญญัติมาตรา 282 (เดิม) กำาหนดอำานาจให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำานาจในการบังคับคดีกรณีที่เป็นหนี้เงิน
             ซึ่งมาตรา 296 วรรคหนึ่ง (แก้ไขเพิ่มเติม) ก็กำาหนดอำานาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีกรณีที่เป็นหนี้เงินเช่นกัน
             โดยกำาหนดให้การบังคับคดีในกรณีที่มีหนี้เงินนั้นจะต้องทำาโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี และการที่จะรวบรวมเพื่อให้ได้เงินมาชำาระตาม

             คำาพิพากษาหรือคำาสั่งศาลก็ทำาได้โดยการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาแล้วนำาออกขายทอดตลาด
             หรือจำาหน่ายโดยวิธีการอื่น โดยกำาหนดวิธีการบังคับคดีไว้ 4 ลักษณะเช่นเดียวกับมาตรา 282 (เดิม) เพียงแต่ปรับบทบัญญัติของ
             กฎหมายให้ชัดเจนและคลอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ให้อำานาจเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำานาจบังคับคดีกรณีเป็นหนี้เงิน โดยวิธีดังต่อไปนี้


                                                          10


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17