Page 6 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 6

ความหมายการขายทอดตลาดโดยติดภาระจำานอง



               ป.พ.พ. มาตรา 702 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาจำานองนั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำานองเอาทรัพย์สิน

          ตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำานองเป็นประกันการชำาระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำานอง
               ผู้รับจำานองชอบที่จะได้รับชำาระหนี้จากทรัพย์สินที่จำานองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
          จะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่” และเมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 702 ประกอบกับ

          คำาว่าการขายทอดตลาดโดยติดจำานอง อธิบายได้ดังนี้คือ
               1.   การขายทอดตลาดโดยการติดภาระจำานอง มีผู้เกี่ยวข้อง

          3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา (โจทก์) ลูกหนี้
          ตามคำาพิพากษา (จำาเลย) และผู้รับจำานอง

               2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์ (เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงาน
          บังคับคดียึดทรัพย์สินของจำาเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดติดจำานอง

          กับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล
          หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ

               3. ทรัพย์สินที่ยึดนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ติดจำานอง
          ผู้รับจำานองจึงมีสิทธิ์ได้รับชำาระหนี้จำานองก่อนเจ้าหนี้

         ตามคำาพิพากษาและสามารถแถลงวิธีการขายทอดตลาด
         ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจะให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด

         และติดภาระจำานองนั้นโดยวิธีติดจำานองหรือปลอดจำานอง
               4. หากผู้รับจำานองแถลงเลือกให้ขายทอดตลาดโดย

          ติดจำานอง ผู้ประสงค์ในการประมูลเพื่อซื้อทรัพย์เหล่านั้น
          เป็นผู้ชนะการประมูลแล้วจะต้องวางเงินชำาระค่าซื้อทรัพย์

          ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามราคาที่ประมูลได้
               5.  เจ้าพนักงานบังคับคดีจะออกหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์โดยติดภาระจำานองไป และขณะเดียวกัน

          ผู้ซื้อทรัพย์ยังมีหน้าที่ที่จะต้องไปชำาระเงินตามภาระหนี้จำานองให้แก่ผู้รับจำานองอีกส่วนหนึ่ง ผู้รับจำานองจึงจดทะเบียน
          โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยปลอดการจำานอง



          ขั้นตอนในการยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
          ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยติดภาระจำานอง



               กรมบังคับคดีได้มีคำาสั่งที่ 501/2560 ลงวันที่ 1 กันยายน 2560 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์
         ขับไล่ รื้อถอน ได้กำาหนดวิธีการในการยึดทรัพย์กรณีทรัพย์ติดจำานอง สรุปได้สังเขปดังนี้

               1. ให้ผู้นำายึดส่งเอกสารประกอบการยึดอสังหาริมทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3ก. น.ส.3 หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
         ห้องชุดหรือเอกสารสำาคัญอื่น ๆ หรือในกรณีไม่มีต้นฉบับเอกสารสิทธิอยู่ในความครอบครอง ให้คัดสำาเนาที่เป็นปัจจุบัน
         ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาจำานอง สัญญาเช่าอื่น ๆ พร้อมทั้งส่งแผนที่

         การไปยังที่ตั้งทรัพย์ ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่ยึด ราคาประเมินที่ดินหรือห้องชุด สำาเนาทะเบียนราษฎร์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์
         ทายาท คู่สมรส ผู้รับจำานอง และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                                           5


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11