Page 5 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 5

จากข้อมูลของกรมบังคับคดี 3 ปี ย้อนหลัง (2560-2562

                                                               ดูเอกสารอ้างอิง) สถิติคดีที่เกิดขึ้นในชั้นบังคับคดีเพิ่มขึ้น
                                                               ในลักษณะพุ่งทะยาน นั่นหมายถึงลูกหนี้ตามคำาพิพากษา

                                                               จะต้องถูกบังคับคดีขายทอดตลาดเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
                                                               และบรรดาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาที่จะต้อง

                                                               ถูกยึดทรัพย์และขายทอดตลาด  ได้แก่  ทรัพย์จำานอง
                                                               ที่ลูกหนี้ได้นำามาประกันสัญญาเงินกู้ยืม ซึ่งผู้ที่จะทำาหน้าที่

                                                               ในการยึดทรัพย์และบังคับคดีคือเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา
                                                               ในกรณีผู้รับจำานองฟ้องบังคับจำานอง และเจ้าหนี้อีกประเภท

                                                               หนึ่งคือเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาในกรณีที่ไม่มีหลักทรัพย์
                                                               จำานองของลูกหนี้ประกันสัญญาเงินกู้ เจ้าหนี้ประเภทนี้

                                                               ซึ่งส่วนใหญ่มูลหนี้เกิดจากหนี้สินครัวเรือน และเมื่อถึง
                                                               ชั้นบังคับคดี  เจ้าหนี้ก็จะต้องสืบทรัพย์ของลูกหนี้

                                                               เพื่อดำาเนินการยึดทรัพย์และขายทอดตลาด ซึ่งทรัพย์สิน
                                                               ของลูกหนี้อาจจะติดจำานองอยู่กับสถาบันการเงินอื่น ๆ

         หรือบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา และคดีประเภทนี้มีอยู่ในชั้นบังคับคดีเป็นจำานวนมาก ซึ่งปัจจุบัน

          ได้มีประชาชนหรือบริษัทเอกชนต่าง  ๆ  ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำาธุรกิจด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  เริ่มที่จะ
          เข้ามาประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีในทรัพย์สินที่ขายโดยติดภาระจำานองเพิ่มมากขึ้น
          โดยเฉพาะกรณีทรัพย์ติดจำานองที่มีภาระหนี้ท่วมหลักทรัพย์จำานอง เนื่องจากเงื่อนไขในการวางหลักประกันในการ

          เข้าเสนอราคาที่ค่อนข้างตำ่า แม้จะส่งผลดีต่อเป้าหมายการผลักดันทรัพย์สินของกรมบังคับคดี แต่ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า

          เมื่อผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดภาระจำานอง ได้ชำาระเงินค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนแล้วและเจ้าพนักงานบังคับคดี
          ได้ออกหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ที่ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยติดภาระจำานองไป ผู้ซื้อทรัพย์ยังมีหน้าที่
          จะต้องไปชำาระหนี้ไถ่ถอนจำานองกับผู้รับจำานองเดิมอีกส่วนหนึ่ง แต่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ยอมไปชำาระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอน

          จำานอง แต่ผู้ซื้อกลับได้รับสิทธิทางกฎหมายในฐานะผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือ

         ทรัพย์เหล่านั้น หรือใช้อำานาจทางกฎหมายในการออกหมายบังคับคดี
         ในการขับไล่หรือออกหมายจับ ให้ลูกหนี้ตามคำาพิพากษาออกไป

         จากที่ดินแปลงนั้นได้อย่างชอบธรรม ซึ่งสร้างความเสียหาย
         ให้แก่ผู้รับจำานองเป็นจำานวนมากและขณะเดียวกัน

         ภาระหนี้จำานองของเจ้าของที่ดินเดิมก็มิได้
         ชำาระให้เสร็จสิ้น ซึ่งทำาให้ภาระหนี้เหล่านี้

         เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผลพวงของดอกเบี้ย
         ที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นหนี้เสียหรือหนี้

         ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อไปในอนาคต
         ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของ

         ประเทศ




                                                           4


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10