Page 13 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 119 - กรมบังคับคดี
P. 13
โดยเจตนารมณ์ของการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรานี้ขึ้นมานั้น ก็เพื่อให้สิทธิเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำาขอรับชำาระหนี้
ภายในกำาหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด สามารถยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ได้ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
โดยยื่นคำาร้องต่อศาลได้โดยตรง
การตีความคำาว่า “เหตุสุดวิสัย” นั้นยังมีปัญหาในทางปฏิบัติค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการตีความแตกต่างกัน ซึ่งคำาว่า
เหตุสุดวิสัยนี้มีบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง ซึ่งมีประเด็นปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาค่อนข้างมาก
เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 คำาว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี
จะให้ผลพิบัติก็ดีเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวัง
ตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น ซึ่งการตีความคำาว่าเหตุสุดวิสัยตามมาตรานี้ แนวคำาวินิจฉัย
ของศาลฎีกาค่อนข้างตีความเคร่งครัดมาก โดยจะต้องเป็นเหตุซึ่งไม่อาจป้องกันได้ โดยอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดอุทกภัย
ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงหน่วยงานมีการประกาศหยุดราชการบางช่วงเวลาถนนต่างๆ บางเส้นปิดการจราจร
เนื่องจากระดับนำ้าที่ท่วมสูงรถไม่อาจแล่นสัญจรผ่านไปมาได้ตามปกติทำาให้การเดินทางของประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
และบริเวณใกล้เคียงประสบความยากลำาบาก ดังนี้ กรณีถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ผู้ร้องไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ทันตามกำาหนด
(คำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 9452/2559)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 บัญญัติว่า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ได้ยื่นคำาขอโดยทำาเป็นคำาร้อง ให้ศาลมีอำานาจที่จะออกคำาสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำาหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้
หรือตามที่ศาลได้กำาหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำาหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำาเนิน
หรือมิให้ดำาเนินกระบวนวิธีพิจารณาใดๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น แต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำาได้ต่อเมื่อ
มีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำาสั่งหรือคู่ความมีคำาขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งการ
ตีความคำาว่าเหตุสุดวิสัยตามมาตรานี้ มีการตีความผ่อนคลายกว่าคำาว่าเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 8 โดยผู้เขียนจะยกเอาคำาวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ได้ให้ความหมายของคำาว่าเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ไว้เป็นบรรทัดฐานได้ดีมาก คือ คำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 ความว่า “เหตุสุดวิสัย”
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำาให้ศาลไม่สามารถมีคำาสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือ
คู่ความมีคำาขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำาเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า
พฤติการณ์พิเศษที่ทำาให้การดำาเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำาได้ภายในกำาหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัย
ตามมาตรา 23 จึงไม่จำาต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำาสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนดไว้
ในการดำาเนินกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำานาจสั่งเองได้โดยคู่ความ
11
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม