Page 16 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 119 - กรมบังคับคดี
P. 16

ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และแนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยตามกฎหมายเดิมมาใช้บังคับ แต่ผู้เขียน

         มีข้อสังเกตว่า คำาว่าเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 91/1
         แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 อยู่ในบริบทและเงื่อนไขทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ในเรื่องการรับรู้และทราบกำาหนดเวลา

         เริ่มต้นในการนับระยะเวลา กล่าวคือ ตามมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นเรื่องที่ศาลมีการแจ้งให้คู่ความทราบ
         โดยคำาสั่งหรือคำาพิพากษา รวมทั้งกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งอาจแจ้งในระหว่างการพิจารณาหรือแจ้งไปยังภูมิลำาเนาที่อยู่ของคู่ความ
         โดยตรง แต่ตามกฎหมายล้มละลายการที่เจ้าหนี้จะทราบประกาศโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็จะทราบ

         โดยการตรวจสอบในราชกิจจานุเบกษา หรือทางเว็บไซต์กรมบังคับคดี (ปัจจุบัน มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
         (ฉบับที่10) พ.ศ. 2561 มาตรา 148/1 บัญญัติว่า “ในกรณีที่บทบัญญัติในพระร�ชบัญญัตินี้กำ�หนดให้เจ้�พนักง�นพิทักษ์ทรัพย์โฆษณ�

         คำ�สั่งหรือคำ�พิพ�กษ�ของศ�ลหรือประก�ศหรือคำ�สั่งของเจ้�พนักง�นพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ร�ยวัน เจ้�พนักง�นพิทักษ์ทรัพย์
         อ�จโฆษณ�สื่ออิเล็กทรอนิกส์ส�ธ�รณะอื่นใดแทนต�มที่อธิบดีกรมบังคับคดีประก�ศกำ�หนดก็ได้” ซึ่งกรมบังคับคดีได้ประกาศคำาสั่ง
         กรมบังคับคดีที่ 201/2560 เรื่อง การโฆษณาคำาสั่งหรือคำาพิพากษาของศาลหรือประกาศหรือคำาสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

         ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใดแทนการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา 148/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช
         2483 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 โดยกำาหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศลงเว็บไซต์กรมบังคับคดี (http://www.led.go.th)




















         แทนการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน) เห็นได้ว่าการที่เจ้าหนี้จะทราบประกาศโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้ เพื่อรับรู้กำาหนด
         เวลาเริ่มต้นในการนับระยะเวลาใช้สิทธิยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องขวนขวายตรวจสอบเอง หาใช่รับรู้จากคำาสั่งหรือคำาพิพากษา

         ของศาล รวมทั้งกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งมีการแจ้งให้คู่ความทราบโดยตรง ดังเช่นมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
         ความแพ่งไม่ ซึ่งเคยมีแนวคำาพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการทราบประกาศโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
         โดยศาลฎีกาตีความว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำาเนินการโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและ

         ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาหรือบุคคลภายนอกรวมทั้งเจ้าหนี้ในคดีนี้ ทราบว่าลูกหนี้
         ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว (เทียบคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2553, 10247/2553) แต่ทั้งนี้ แนวคำาวินิจฉัยกรณี

         เหตุสุดวิสัยของศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า ก็คงต้องรอฟังแนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยถึงเหตุสุดวิสัย
         ตามมาตรา 91/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 โดยตรงต่อไป
              อนึ่ง แม้มาตรา 91/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 จะให้สิทธิเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ภายในกำาหนด

         เวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสามารถยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ได้ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยก็ตาม แต่ทั้งนี้ถึงแม้
         ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยจริงตามคำาร้อง ก็หาใช่ว่าศาลจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
         ได้เสมอไปไม่ เพราะการยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ในกรณีดังกล่าวจะต้องปรากฏ “เหตุอันสมควร” ด้วย ซึ่งคำาว่าเหตุอันสมควรตามมาตรานี้

         ก็ยังไม่มีแนวคำาวินิจฉัยของศาลฎีกาตีความเป็นบรรทัดฐานเช่นกัน ซึ่งศาลจะต้องพิเคราะห์พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรายคดีไป ยกตัวอย่าง
         เช่น เจ้าหนี้เป็นธนาคารหรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ไม่ตรวจสอบบริหารหนี้สินของตนกลับปล่อยปละละเลย เพิ่งมายื่นคำาขอรับชำาระหนี้
         ภายหลังที่ศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้มาแล้วเป็นเวลานาน หรือ เจ้าหนี้ขอรับชำาระหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำาสั่งอนุญาตให้ปิดคดีแล้ว

         กรณีเช่นว่านี้ ศาลก็อาจถือว่าไม่มีเหตุอันสมควรก็ได้ เป็นต้น


                                                          14


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21