Page 14 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 119 - กรมบังคับคดี
P. 14
ไม่ต้องร้องขอ… (มีคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2535, 5923/2545, 8659/2548, 445/2553 และ6064/2555 เดินตาม)
ซึ่งตามคำาพิพากษาคดีนี้ เป็นการวินิจฉัยในคดีล้มละลายชั้นสำานวนทวงหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำาเลย
ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ของบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องมิได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำาหนดและมิได้ชำาระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลออกคำาบังคับให้ผู้ร้องชำาระหนี้รายนี้ ผู้ร้องจึงร้องต่อศาลว่าได้ยื่นคำาร้องปฏิเสธหนี้
รายนี้ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงรับกันว่า ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 5 ตุลาคม 2501 ผู้ร้อง
ได้ส่งหนังสือปฏิเสธหนี้มายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ วันที่ 18 ตุลาคม 2501 หนังสือนี้ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
วันที่ 21 ตุลาคม 2501 การส่งจดหมายจากที่อยู่ของผู้ร้องถึงผู้รับในจังหวัดพระนคร อาจถึงผู้รับในระยะ 1 หรือ 2 วัน
ศาลชั้นต้นฟังว่า จดหมายของผู้ร้องถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วัน ซึ่งตามปกติควรจะถึงภายในกำาหนด จึงให้เพิกถอน
คำาบังคับที่ให้ผู้ร้องชำาระเงินนั้นเสีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากำาหนดเวลาที่บัญญัติไว้
ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 ถือได้ว่าเป็นกำาหนดเวลาตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 23 ซึ่งศาลอาจสั่งย่นหรือขยายเองได้และเห็นว่า การที่จดหมายของผู้ร้องถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไปนั้น
จะปรับเป็นความผิดของผู้ร้องไม่ถนัด เมื่อความปรากฏแก่ศาลภายหลังเช่นนี้ นับว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัย จึงสั่งขยาย
ระยะเวลาให้ และพิพากษายืน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ข้างต้น แล้วพิพากษายืน จากคำาวินิจฉัย
ของศาลฎีกาดังกล่าว เห็นได้ว่า การตีความกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติมีความความแตกต่างกัน กล่าวคือ เหตุสุดวิสัย
ตามมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่จำาต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้
ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 กรณีจึงอาจเกิดขึ้นจากเหตุอื่นๆซึ่งเป็นพฤติการณ์ภายนอก
ที่ผู้ร้องไม่อาจควบคุมได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมิใช่เหตุที่เกิดจากความบกพร่องหรือละเลยผู้ร้องเอง เช่น ความหลงลืม (คำาพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 2076/2548) ไม่ดำาเนินการเสียตั้งแต่เนิ่นๆ (คำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2535 , 371/2545 , 6074/2560)
เป็นต้น
กรณีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 91/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 นั้น เนื่องจากกฎหมายล้มละลายมิได้
บัญญัติบทนิยามคำาว่าเหตุสุดวิสัยไว้ ศาลฎีกาจึงนำาแนวบรรทัดฐานคำาพิพากษาศาลฎีกาของคำาว่าเหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณา
คดีล้มละลาย พุทธศักราช 2542 แต่เดิมก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 91/1 ศาลฎีกาก็เคยมีคำาวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับ
การยื่นคำาขอรับชำาระหนี้ในกรณีพ้นกำาหนดระยะเวลาโดยอ้างเหตุสุดวิสัยมาแล้ว กรณีที่ศาลฎีกาถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย อาทิเช่น
12
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม