Page 9 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 119 - กรมบังคับคดี
P. 9

กำาหนดตัวชี้วัด (KPI) สำาหรับคดีค้าง 10 ปีเป็นครั้งแรก เพื่อลดจำานวนคดีคงค้าง

                     มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกำาหนดเวลาในการทำาบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในคดี
                     พัฒนา Application นำาเสนอข้อมูลทรัพย์รอการขาย (LED Property และ LED Property Plus) และตรวจ
          สถานะคดีแพ่งและยอดเงินอายัด (Debt Info) รวมทั้งระบบการรับจองคิวการบังคับคดีล่วงหน้า (LED Queue) และการถ่ายทอดสด
          การขายทอดตลาดของสำานักงานบังคับคดี 25 จังหวัด ซึ่งเปิดใช้งานให้ดาวน์โหลดได้ทาง Android (LED Streaming)
                     ระบบการเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Offering Auction) โดยเพิ่มช่องทางในการเสนอราคาผ่านระบบ
          อิเล็กทรอนิกส์ โดยกำาหนดให้สำานักงานบังคับคดีหนึ่งสำานักงานเป็นสำานักงานศูนย์กลาง (Center) และสามารถส่งคำาสั่งซื้อไปยัง
          สำานักงานเครือข่าย (Node) ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีสำานักงานบังคับคดีที่สามารถดำาเนินการใช้ระบบการขายทอดตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์
          ได้ 5 แห่ง คือ สำานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร สำานักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา และสงขลา
         และตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 ได้มีการขยายสำานักงานบังคับคดีเครือข่าย (Node) จากเดิมเพิ่มเป็น 10 สำานักงาน

                     การนำาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการส่งเงินอายัด ซึ่งกรมบังคับคดีได้เปิดให้นายจ้างผู้รับการอายัดที่มีหน้าที่
          นำาส่งเงินอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกจ้างสามารถส่งเงินอายัดทางระบบการรับ-ส่งเงินอายัดและการแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งเงิน
         อายัดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้กระดาษ ซึ่งได้เปิดให้บริการแก่บริษัทนายจ้างยื่น
          ความประสงค์ใช้บริการระบบดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2561
                     ติดตั้งระบบบัตรคิวอัตโนมัติให้บริการงานบังคับคดีแก่ประชาชน ในสำานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6
          และสำานักงานบังคับคดีทั่วประเทศ
                     การจัดทำาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-memo) โดยการจัดทำาหนังสือและการรับ - ส่งหนังสือราชการและ

          เอกสารภายในกรมบังคับคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มดำาเนินการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
                   ด้านการชี้แจงต่อธนาคารโลก
                     ชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ไขปรับปรุง ข้อเท็จจริง และชี้ให้เห็นประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างจากผลการประเมิน
          ปีที่ผ่านมาต่อผู้ประเมินตัวชี้วัดที่ 9 และ 10 ของธนาคารโลก ณ ธนาคารโลก กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา (ก.พ. 2559)
                     เสนอเพิ่มรายชื่อผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์ตรงกับคำาถามของตัวชี้วัดที่ 9 และ 10
          ต่อผู้ประเมินตัวชี้วัดที่ 9 และ 10 ของธนาคารโลก (ธนาคารโลกรับข้อเสนอ)
               (3)  ด้านการประสานงานและมีส่วนร่วม
                     นำาข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำาเนินการภายใต้กรอบความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งข้อมูล
          สถิติ เผยแพร่ในเว็บไซต์กรมบังคับคดี เพื่อง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง

                     ประชุมเพื่อชี้แจงความสำาคัญและรายละเอียดของการตอบแบบสอบถามให้กับภาคเอกชนผู้ตอบแบบสอบถาม
                     จัดการประชุมเพื่อให้ภาคเอกชนผู้ตอบแบบสอบถามชี้แจงรายละเอียดของแบบสอบถามและความเห็นต่างๆ

               ตัวชี้วัดที่ 10 การแก้ปัญหาการล้มละลาย (Resolving Insolvency)

               (1)  ด้านกฎหมายและกระบวนการทํางาน
                     พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558
                     พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 การฟื้นฟูกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งได้

          นำาหลักการสากลได้แก่ หลักไม่สามารถชำาระหนี้ มาใช้เป็นครั้งแรก
                     พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 โดยมีการแก้ไขหลักการในกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับ
          การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 3/1 เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจ
          ขนาดกลางและขนาดย่อม แก้ไขปรับปรุงกฎหมายล้มละลายให้มีความเชื่อมโยงและรองรับกับพระราชบัญญัติหลักประกันทาง
          ธุรกิจ พ.ศ. 2558 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำาทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันและมีเหตุทำาให้ต้องเข้าสู่











                                                           7


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14