Page 6 - รายงานประจำปี 2564 - กรมบังคับคดี
P. 6

สารอธิบดีกรมบังคับคดี


                     ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นปีที่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การ
                 แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
                 เป็นวงกว้าง โดยรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชก�าหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
                 พ.ศ. 2548 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการ
                 ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่ 6 ด้านการให้ความช่วยเหลือเยียวยา
                 โดยให้พิจารณามาตรการในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีภาระในการผ่อนช�าระหนี้ ที่เกิด
                 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID  - 19) กรมบังคับคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
                 สังกัดกระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย และการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตาม
                 ค�าพิพากษา หรือค�าสั่งศาล ได้ด�าเนินงานเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
                 การช�าระหนี้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม มุ่งเน้นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                 แห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมในการอ�านวยความยุติธรรมให้แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย
                 ลดความเหลื่อมล�้า สร้างสังคมเป็นสุข และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                 มีนโยบายในการด�าเนินการเน้นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้านหลัก (LED 5 Excellence) ได้แก่ การบริหารจัดการคดี
                 (Case Management Excellence) การพัฒนานวัตกรรมและระบบการท�างาน (IT Excellence) การพัฒนาระบบฐาน
                 ข้อมูล (Information Excellence) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร (HR Excellence) และการยกระดับองค์กร (Organization
                 Excellence) เพื่อพัฒนากรมบังคับคดีไปสู่ Digital Economy และ Thailand 4.0 ซึ่งมีผลงานส�าคัญ ภายใต้ยุค New Normal
                 ประกอบไปด้วย
                     การเร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจากกระบวนการบังคับคดี สามารถผลักดันทรัพย์สินได้จ�านวน 198,933,320,560.33 บาท
                 คิดเป็นร้อยละ 99.47 เมื่อเทียบกับเป้าหมายผลผลักดันทรัพย์สินจ�านวน 200,000,000,000 บาท และสามารถเรียกเก็บ
                 ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีเพื่อน�าเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ได้เป็นจ�านวน 2,535,364,752.45 บาท
                     การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ภายใต้แนวทางยุติธรรมสร้างสุข ด้วยการไกล่เกลี่ย
                 ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี เน้นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้ SMEs หนี้เกษตรกร หนี้สินเชื่อ หนี้บัตรเครดิต และ หนี้ กยศ. ภายใต้
                 ยุทธศาสตร์ “เชิงรุก เชิงลึก และครอบคลุม” สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีได้ส�าเร็จ ถึงจ�านวน 15,093 เรื่อง
                 ทุนทรัพย์จ�านวน 9,398,317,410.35 บาท คิดเป็นผลส�าเร็จร้อยละ 92.41 ของเรื่อง ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
                 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 12.41 รวมทั้งเปิดให้บริการยื่นค�าร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มีการ
                 ไกล่เกลี่ยออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Session Call
                     การพัฒนานวัตกรรม และระบบการท�างาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคดี และการอ�านวยความ
                 สะดวกให้กับประชาชน เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนเป็นการสร้างความโปร่งใสและเสริมสร้างความ
                 เชื่อมั่นในการบังคับคดีรองรับการพัฒนาไปสู่ระบบการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล “Digital Government” ระบบ
                 Digital Economy” และ “Thailand 4.0” โดยกรมบังคับคดีได้เปิดให้บริการ ระบบ e-Filing ในด้านการอายัด ทรัพย์สิน
                 การวางเงินค่าใช้จ่ายในคดี การยื่นค�าร้องต่าง ๆ และการยึดทรัพย์ มีการใช้บริการผ่านระบบ e-Filing เกินกว่าร้อยละ 55
                 จากจ�านวนการตั้งเรื่องทั้งหมด



                 Annual Report 2021                              5                  The Legal Execution Department, Ministry Of Justice
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11