Page 7 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 119 - กรมบังคับคดี
P. 7
ตัวชี้วัดที่ 9 ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts) ประเด็น
คำาถามในแบบสอบถามของธนาคารโลกจะ
พิจารณาจากระยะเวลา ค่าใช้จ่าย กระบวนการ
ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหากรณีพิพาท
เชิงพาณิชย์ โครงสร้างและประสิทธิภาพของ
ศาล และการบังคับคดี ซึ่งพบว่าแบบสอบถาม
ในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำาเนินงาน
ในศาลยุติธรรมเป็นหลัก และจะมีคำาถามที่เกี่ยวข้อง
กับการบังคับคดีในช่วงท้ายของแบบสอบถาม
ส่วนตัวชี้วัดที่ 10 ด้านการแก้ปัญหา
การล้มละลาย (Resolving Insolvency) ประเด็น
คำาถามในแบบสอบถามของธนาคารโลกจะพิจารณา
จากอัตราการได้รับชำาระหนี้คืน (Recovery rate) (โดยมีปัจจัย ได้แก่ ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และผลลัพธ์จากการบังคับคดีล้มละลาย)
การบังคับชำาระหนี้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรธุรกิจภายในประเทศรวมทั้ง ความแข็งแกร่งของโครงสร้างกฎหมายล้มละลาย
ผลการจัดอันดับความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจ Doing Business 2019 (พ.ศ. 2562) ธนาคารโลกได้แถลงผล
การจัดอันดับความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจ Doing Business 2562 โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในลำาดับที่ 27
จาก 190 เขตเศรษฐกิจ มีคะแนน Distance to Frontier (DTF) เพิ่มขึ้นเป็น 78.45 คะแนน สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา (Doing Business
2018 ที่ได้ 77.39 คะแนน) เป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ (อันดับ 2) และมาเลเซีย (อันดับที่ 15) โดยประเทศไทย
ยังคงมีอันดับอยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศแรกของโลกที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากที่สุดในโลก ซึ่งการจัดอันดับ
ความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจดังกล่าวมีตัวชี้วัด 10 ด้าน กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดี ร่วมรับผิดชอบตัวชี้วัดสองด้าน
ในการดำาเนินการด้านความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจ คือ ตัวชี้วัดที่ 9 การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing
Contracts) ที่กรมบังคับคดีดำาเนินการร่วมกับสำานักงานศาลยุติธรรม ประเทศไทยได้คะแนน 67.91 คะแนน เท่ากับปีที่แล้ว
โดยอยู่ในลำาดับที่ 35 โดยธนาคารโลกเชื่อว่าระยะเวลาในการบังคับคดีจาก 100 วัน ลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 การกำาหนดระยะเวลาในการประกาศ
ขายทอดตลาด จาก 60 วันนับจากวันที่ยึดทรัพย์ ระยะเวลาการขายทอดตลาด จาก 6 นัด เหลือ 4 นัด ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผล
การจัดอันดับในตัวชี้วัด ที่ 9 ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นในการประเมินปีถัดไป และในตัวชี้วัดที่ 10 การแก้ไขปัญหาการล้มละลาย
(Resolving Insolvency) ที่กรมบังคับคดีรับผิดชอบ ประเทศไทยได้อันดับที่ดีขึ้น คือ อันดับที่ 24 จากอันดับที่ 27 เมื่อปีที่แล้ว
โดยได้คะแนน 76.64 คะแนน ซึ่งคะแนนดีขึ้นจาก 75.64 คะแนนเมื่อปีที่แล้ว และอันดับของประเทศไทยในตัวชี้วัดที่ 10
การแก้ไขปัญหาการล้มละลายที่ประเทศไทยได้อันดับที่ 24 จาก 190 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ถือว่าอันดับของประเทศไทยด้านนี้เป็น
อันดับที่ดีที่สุดในอาเซียนติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (ประเทศสิงคโปร์ได้อันดับที่ 27 และมาเลเซียได้อันดับที่ 41) และเป็นอันดับที่ 4
ของเอเชีย (ประเทศญี่ปุ่นได้อันดับที่ 1 สาธารณรัฐเกาหลีได้อันดับที่ 11 ไต้หวันได้อันดับที่ 23) โดยรายงานของธนาคารโลก
พบว่า ตัวชี้วัดที่ 10 การแก้ไขปัญหาการล้มละลาย (Resolving Insolvency) ดังกล่าว เป็นประเด็นที่ท้าทายประเทศต่างๆ ทั่วโลก
มากที่สุด (the most challenging worldwide) ผลการจัดอันดับดังกล่าวสะท้อนถึงความต่อเนื่องของการปฏิรูปการบริการ
ภาครัฐที่มีมาตลอดระยะเวลา3 ปี ถือว่ามีศักยภาพในการอำานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำา
ของโลกอันเป็นผลจากการให้ความสำาคัญอย่างจริงจังของรัฐบาลในการผลักดันการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และ
การปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย THAILAND 4.0
5
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม