Page 39 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 2563 สำหรับเกษตรกรและประชาชน - กรมบังคับคดี
P. 39

คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์สำ หรับเกษตรกรเเละประชาชน  กู้ยืมเงิน  37




            โดยปริยาย (กฎหมายเรียกว่า “การแปลงหนี้ใหม่” มีผลให้หนี้เดิม

            สิ้นสุดลงและเกิดมีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามที่ตกลงกัน) เช่น ลูกหนี้เอาหนี้
            ที่ค้างชำาระค่าซื้อของมาเปลี่ยนเป็นสัญญาเงินกู้แทน เป็นต้น

                  (3)  การกู้ยืมเงินแต่ผู้ให้กู้ส่งมอบทรัพย์สินอื่นให้แทนเงินคือ

            การตกลงให้ผู้กู้ได้รับของอื่นแทนเงินที่กู้ยืมกันเมื่อผู้กู้ได้รับของนั้นแล้วก็

            ถือว่าได้รับเงินแล้วเช่นกัน ซึ่งการกู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้ส่งมอบทรัพย์สินอื่น

            ให้แทนเงินกู้ก็ยังเป็นเรื่องของการกู้ยืมเงิน




            การส่งมอบทรัพย์สินอื่นแทนเงินกู้

                  แม้คู่สัญญาตกลงกู้ยืมเงินกันแต่อาจตกลงให้ผู้ให้กู้ส่งมอบทรัพย์สิน

            อย่างอื่นแทนเงินให้แก่ผู้กู้ก็ได้ ถือได้ว่าสัญญากู้ยืมเงินบริบูรณ์ ทั้งนี้
            จำานวนหนี้เงินกู้ให้คิดจาก “ราคาตลาดของทรัพย์สิน” ในเวลาและสถานที่

            ที่ส่งมอบ เช่น นายกุ๊กไก่ตกลงให้นายไข่นุ้ยกู้ยืมเงินโดยส่งมอบเมล็ด

            พันธ์พืชมูลค่ากระสอบละ 2,000 บาท จำานวน 5 กระสอบ ถือว่าหนี้เงินกู้

            ตามสัญญาคือ 10,000 บาท

                  อย่างไรก็ดี คู่สัญญาตกลงคิดราคาทรัพย์สินเป็นอย่างอื่นไม่ได้

            เช่น ราคาทรัพย์ที่ส่งมอบ ณ เวลานั้นมีมูลค่า 10,000 บาท แต่สัญญากู้

            ตกลงว่ากู้เงินกัน 15,000 บาท ความตกลงดังกล่าวเป็น “โมฆะ”

            ใช้บังคับไม่ได้ และถือว่ามีการกู้ยืมกันเป็นจำานวน 10,000 บาท
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44