Page 38 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 2563 สำหรับเกษตรกรและประชาชน - กรมบังคับคดี
P. 38

36      กู้ยืมเงิน               คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์สำ หรับเกษตรกรเเละประชาชน




               ทั้งนี้ เนื่องจากการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเงินกู้ให้แก่

          ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงต้องเป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้นั้น แต่หากผู้ให้กู้ไม่ใช่เจ้าของเงิน
          แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของเงินสัญญากู้สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น

          นายกุ๊กไก่ยินยอมให้ลูกนำาเงินของตนไปให้ผู้อื่นกู้ สัญญากู้สมบูรณ์

          โดยลูกนายกุ๊กไก่เป็นผู้ให้กู้ตามสัญญากู้

               อย่างไรก็ดี หากผู้ให้กู้ไม่ใช่เจ้าของเงินและไม่ได้รับความยินยอม

          จากเจ้าของเงิน เช่น ผู้ให้กู้ขโมยเงินนั้นมา หากผู้กู้ “ไม่สุจริต” โดยรู้หรือ

          ควรจะรู้ว่าเงินที่รับมาไม่ใช่เงินของผู้ให้กู้และเจ้าของเงินไม่ได้ยินยอมด้วย

          ผู้กู้ต้องคืนเงินนั้นให้แก่เจ้าของที่แท้จริง



          การส่งมอบเงินที่กู้ยืม

          (สัญญากู้ยืมเงินมีการส่งมอบอย่างไร?)


               สัญญากู้ยืมเงินบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบเงินที่กู้ยืมเช่นกัน หากยังไม่มี
          การส่งมอบเงินที่กู้ยืมก็ยังถือไม่ได้ว่ามีสัญญากู้ยืมเงินกัน  แม้จะมี

          การตกลงกันหรือทำาหนังสือสัญญากันแล้วก็ตาม

               ทั้งนี้ การส่งมอบเงินที่กู้สามารถทำาได้ 3 วิธีดังนี้

               (1)  การส่งมอบเงินให้แก่ผู้ยืมโดยที่ผู้ให้กู้ส่งมอบธนบัตร เหรียญ

          กษาปณ์หรือเช็คที่จะต้องนำาไปขึ้นเงินที่ธนาคาร

               (2)  การเอาหนี้อื่นที่มีอยู่ระหว่างกันมาแปลงหนี้เงินกู้  คือ

          การตกลงกันเอาหนี้อื่นที่มีอยู่มาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ซึ่งถือเป็นการส่งมอบเงินกู้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43