Page 41 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 2563 สำหรับเกษตรกรและประชาชน - กรมบังคับคดี
P. 41

คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์สำ หรับเกษตรกรเเละประชาชน  กู้ยืมเงิน  39




            ที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียน บันทึกประจำาวันของตำารวจ บันทึก

            ที่เขียนไว้ที่อำาเภอ บันทึกหลังทะเบียนการหย่า หนังสือรับสภาพหนี้

            ที่ผู้กู้เขียนว่าจะชดใช้หนี้คืนให้ เป็นต้น

                  แม้หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ลงวันที่ก็ยังใช้เป็นหลักฐานในการ
            ฟ้องร้องได้ ทั้งนี้ หลักฐานการกู้ยืมเงินผู้กู้จะทำาขึ้นในตอนกู้ยืมกันหรือ

            เกิดขึ้นในภายหลังก็ได้แต่จะต้องทำาขึ้น “ก่อนฟ้องร้องคดี” ไม่เช่นนั้น

            จะถือเป็นการกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานมาฟ้องคดี เช่น คำาเบิกความของจำาเลย

            หลังฟ้องคดีรับว่าเป็นหนี้เงินกู้จริง แม้คำาเบิกความจะเป็นเอกสารที่

            แสดงถึงการกู้ยืมแต่ไม่ได้มีขึ้นก่อนฟ้องคดี

                  “การลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืม” เป็นสิ่งที่มีความสำาคัญมากใน

            หลักฐานการกู้ยืมเงิน โดยผู้กู้ยืมอาจไม่ต้องลงลายมือชื่อแต่ใช้วิธีการ
            อื่นแทนก็ได้ เช่น การใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อ การพิมพ์

            ลายนิ้วมือ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้

            กฎหมายต้องการเฉพาะลายมือชื่อของผู้กู้ยืมแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น

            จึงไม่จำาต้องมีลายมือชื่อของผู้ให้กู้ยืมด้วยก็ได้

                  ทั้งนี้ ลายมือชื่อนั้นต้องเกิดจากลายมือของผู้กู้เอง ไม่ใช่ว่าเป็น

            ชื่อของผู้กู้แต่ผู้เขียนเป็นคนอื่น กฎหมายไม่อนุญาตให้ลงลายมือชื่อ

            แทนกันได้แม้เจ้าของชื่อจะได้อนุญาตก็ตาม ส่วนชื่อที่เขียนโดยผู้กู้นั้น

            จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็ได้ ถือเป็นลายมือชื่อเช่นเดียวกัน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46