Page 45 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 45

สำาหรับในเรื่องอาหารการกินนั้น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการกินที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยเฉพาะ

          ในเมืองอย่างวอชิงตันดีซี หรือมหานครนิวยอร์ก ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติพักอาศัยอยู่เป็นจำานวนมาก
          ทำาให้มีร้านอาหารหลากหลายสัญชาติกระจายอยู่รอบเมือง ทั้งอาหารไทย จีน เวียดนาม อิตาลี อินเดีย เอธิโอเปีย ฯลฯ

                 ผู้เขียนมีเพื่อนชาวต่างชาติคนหนึ่งที่ชื่นชอบอาหารเวียดนามมาก โดยเฉพาะการนำาแผ่นแป้งไปแช่นำ้า เพื่อห่อกิน
          กับเครื่องต่าง ๆ เหมือนที่เราคุ้นเคยกับการกินแหนมเนือง แผ่นแป้งแบบนี้ฝรั่งเรียกว่า rice paper เนื่องจากแผ่นแป้งนี้

          ทำามาจากแป้งข้าวเจ้า (rice flour) และมีลักษณะบางเหมือนกระดาษ (paper)
                 แม้ว่าเมืองที่ผู้เขียนได้ไปอาศัยอยู่จะมีร้านอาหารสัญชาติต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย แต่สำาหรับชาวเอเชีย

          อย่างเรา อาหารที่คุ้นเคยคงหนีไม่พ้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งการสั่งอาหารเอเชียมักจะมีรายละเอียดมากกว่าการสั่งอาหารฝรั่ง
          เรามาดูคำาศัพท์ที่ใช้ในการสั่งอาหารเอเชียอย่างก๋วยเตี๋ยวกันดีกว่าครับ

                 อย่างแรกเราจะต้องเลือกเส้นก่อน เช่น
                 เส้นใหญ่ wide noodles (แต่ในหลายร้านอาหารจีนส่วนมากจะเรียกทับศัพท์ว่า “chow fun”)

                 เส้นเล็ก thin rice noodles
                 เส้นหมี่ rice vermicelli

                 วุ้นเส้น glass noodles
                 บะหมี่  egg noodles









                 จากนั้นเราต้องสั่งเนื้อสัตว์และลูกชิ้นต่าง ๆ เช่น
                 ลูกชิ้นปลา fish ball

                 ลูกชิ้นเนื้อ beef ball
                 ลูกชิ้นหมู pork ball

                 หมูแดง roast pork / BBQ pork
                 หมูกรอบ crispy pork

                 เป็ดย่าง roast duck
                 ในการสั่งอาหารเราอาจใช้ประโยคว่า I would like to get ...?  หรือ Can I get ….? เช่น หากเราต้องการ

          บะหมี่นำ้าเป็ดย่าง เราสามารถพูดได้ว่า Can I get egg noodle soup with roast duck?
                 นอกจากนี้  ในร้านอาหารจีนแทบทุกร้านมักจะมีอาหารเรียกนำ้าย่อย  (appetizer)  อย่างปอเปี๊ยะทอด

          (fried spring roll) หรือเกี๊ยวทอด (fried wonton)
                 หากที่ร้านอาหารนั้นให้บริการทั้งแบบนั่งรับประทานและห่อกลับบ้าน พนักงานอาจจะถามกับเราสั้น ๆ ว่า

          “for here” (รับประทานที่ร้าน) or “to go” (ห่อกลับบ้าน)
                 และเมื่อต้องการชำาระเงินภายหลังรับประทานอาหารเสร็จ เราสามารถใช้ประโยคว่า “Can I have the bill/

          check, please?” หรืออาจพูดสั้น ๆ เพียงแค่ “check/bill please” ก็ได้ เมื่อได้ทราบราคาอาหารที่ต้องชำาระแล้ว
          ชาวอเมริกันยังมีวัฒนธรรมในการให้ทิป (tip/gratuity) เพิ่มเติมจากราคาอาหารอีกร้อยละ 15 - 25 ตามความพอใจ

          ในการให้บริการและอาหารในมื้อนั้นด้วย
                 สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับความเพลิดเพลินกับคอลัมน์สนุกกับภาษาตามสมควร พบกันใหม่

          ในฉบับหน้า สวัสดีครับ
                                                          44

                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50