Page 38 - คู่มือติดต่อราชการ - กรมบังคับคดี
P. 38

กรมบังคับคดี
    36     การบังคับคดีแพ่ง                            กระทรวงยุติธรรม

      คู่มือติดต่อราชการ       การยึดทรัพย์สิน





               การยึดทรัพย์สิน คือ การเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาไว้

          ในความดูแลรักษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำาเนินการตามกฎหมาย

          ให้บรรลุผลตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งของศาลในการบังคับคดียึดทรัพย์ของ
          ลูกหนี้ตามคำาพิพากษา  เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาต้องเป็นผู้นำายึด  ซึ่งตาม

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 บัญญัติว่าเจ้าพนักงาน

          บังคับคดีจะยึดหรืออายัดหรือขายเฉพาะบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา

          อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำาพิพากษา  การยึดทรัพย์สิน  เป็นหน้าที่ของ
          เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาต้องสืบให้ทราบว่าลูกหนี้ตามคำาพิพากษามีทรัพย์สิน

          อะไรบ้าง  อยู่ที่ไหน  ผู้ใดครอบครองทรัพย์สินนั้น  ซึ่งหากทรัพย์สินนั้นเป็น

          ของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาย่อมนำายึดได้



          ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

               1.  เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา  คือ  คู่ความที่เป็นฝ่ายชนะคดี  ซึ่งเป็น

          ผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำาพิพากษาของศาล

               2.  ลูกหนี้ตามคำาพิพากษา คือ คู่ความที่เป็นฝ่ายแพ้คดี ซึ่งถ้าลูกหนี้
          ตามคำาพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำาพิพากษาของศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วน กรณีนี้

          เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้

               3.  เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้มีสิทธิขอให้บังคับ มี 3 ประเภท คือ

                 3.1  ผู้รับจำานอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702
                 3.2  ผู้ทรงบุริมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 251
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43