Page 35 - คู่มือติดต่อราชการ - กรมบังคับคดี
P. 35
กรมบังคับคดี การบังคับคดีแพ่ง 33
กระทรวงยุติธรรม
อำานาจหน้าที่โดยทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี
อำานาจหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คู่มือติดต่อราชการ
จากบทวิเคราะห์ศัพท์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (14)
อำานาจหน้าที่ทั่วๆ ไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีอยู่ 2 ประการ คือ
1.1 อำานาจหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำาพิพากษา ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 เป็นวิธีการคุ้มครองสิทธิ
ของโจทก์ในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา เพื่อขอศาลให้มีคำาสั่งให้ยึดหรืออายัด
ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำาเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา
หรือขอศาลห้ามชั่วคราวไม่ให้จำาเลยกระทำาซำ้าหรือกระทำาต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ
การผิดสัญญาหรือการกระทำาที่ถูกฟ้องร้อง นั้น โดยศาลจะออกหมายบังคับคดี
ชั่วคราวเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำาเนินการตามคำาสั่งของศาลทันที
1.2 อำานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีอันเป็นการบังคับให้เป็น
ไปตามคำาพิพากษาหรือคำาสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อศาลมีคำาพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดแพ้คดีและให้ฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตาม
คำาพิพากษา) ปฏิบัติการชำาระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามฟ้อง เช่น ให้ชำาระหนี้
เป็นเงินจำานวนหนึ่ง ให้ส่งมอบทรัพย์สิน ฯลฯ หากลูกหนี้ตามคำาพิพากษา
ทราบถึงคำาบังคับและครบกำาหนดระยะเวลาตามคำาบังคับแล้ว และเป็นกรณี
ที่ต้องดำาเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยบังคับชำาระหนี้เอาจากบรรดา
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษา คู่ความ ฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตาม
คำาพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออก “หมายบังคับคดี” ตั้งเจ้าพนักงาน
บังคับคดีจัดการยึดหรือายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำาพิพากษาออกขาย
ทอดตลาดเอาเงินชำาระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาต่อไป หรือหากการชำาระหนี้