Page 33 - คู่มือติดต่อราชการ - กรมบังคับคดี
P. 33

กรมบังคับคดี                           การบังคับคดีแพ่ง   31
                     กระทรวงยุติธรรม



            เจ้าพนักงานบังคับคดี


                  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) “เจ้าพนักงาน   คู่มือติดต่อราชการ
            บังคับคดี” หมายถึง เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่น ผู้มีอำานาจ

            ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติ

            ไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่าง
            พิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำาพิพากษา หรือคำาสั่งและให้หมายความรวมถึง

            บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน

                  ในการบังคับคดีที่ต้องมีการดำาเนินการโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาล
            ซึ่งออกหมายบังคับคดี ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี หรือ

            เจ้าพนักงานบังคับคดี สำานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่เขตอำานาจ
            ของศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อจัดการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้

            ตามคำาพิพากษาหรือทำาการอื่นใดโดยอำานาจและหน้าที่ตามกฎหมาย

                  1.  ส่วนกลาง  กรมบังคับคดีได้มีการจัดตั้งสำานักงานบังคับคดีแพ่ง
            กรุงเทพมหานคร 1 ถึง 6 โดยมีการแบ่งเขตดำาเนินการบังคับคดีตามเขตอำานาจ

            ของศาล ดังนี้
                    1.1  สำานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ดำาเนินการบังคับคดี

                          ในเขตอำานาจของศาลแพ่ง, ศาลอาญา, ศาลแขวงพระนครเหนือ,

                          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ,  ศาล
                          ภาษีอากรกลาง

                    1.2  สำานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 ดำาเนินการบังคับคดี

                          ในเขตอำานาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้, ศาลแขวงพระนครใต้,
                          ศาลแขวงปทุมวัน, ศาลแรงงานกลาง, ศาลอาญากรุงเทพใต้
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38