Page 41 - คู่มือติดต่อราชการ - กรมบังคับคดี
P. 41
กรมบังคับคดี การบังคับคดีแพ่ง 39
กระทรวงยุติธรรม
การงดการบังคับคดี
การบังคับคดีอาจชะงักลงได้หากเกิดกรณีต้องงดบังคับคดีไว้ก่อน โดยอาจ คู่มือติดต่อราชการ
เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย เช่น ลูกหนี้ยื่นคำาขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลสั่ง
ให้งด หรือเจ้าหนี้ไม่วางค่าใช้จ่าย และการงดการบังคับคดีอาจเกิดขึ้นได้
โดยการตกลงยินยอมระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้แจ้งเป็นหนังสือ
ไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยลูกหนี้ยินยอมให้งดการบังคับคดีเป็นหนังสือเช่นกัน
นอกจากนี้ยังต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียด้วย คือ ผู้
ขอรับชำาระหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้รับจำานอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ทั้งนี้ตาม
มาตรา 289 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การถอนการบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292)
ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และ
เจ้าพนักงานบังคับคดีก็อาจถอนการบังคับคดีได้ด้วยเหตุตามกฎหมายและตาม
คำาสั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม
ในกรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะถอนการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าหนี้จะต้องวางค่าธรรมเนียมถอนการบังคับคดี (ถอนการยึดทรัพย์) ตามตาราง 5
ท้ายประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน
28 กรกฎาคม 2548 ในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึดของ
หากเป็นการยึดเงิน จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของจำานวนเงิน
ที่ยึดหรืออายัด ส่วนคดีที่ฟ้องตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป
หากเป็นการยึดทรัพย์สิน ซึ่งมิใช่ตัวเงินเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดในอัตรา
ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด สำาหรับการยึดเงินอัตราร้อยละ 1
สำาหรับคดีใดที่ไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทก์ประสงค์จะถอนการบังคับคดี
ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น