Page 59 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 2563 สำหรับเกษตรกรและประชาชน - กรมบังคับคดี
P. 59
คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์สำ หรับเกษตรกรเเละประชาชน เช่าทรัพย์ 57
ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือไม่
ผู้ให้เช่าไม่จำาเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่า ดังนั้น ไม่ว่าทรัพย์
ที่เช่านั้นจะมีผู้ใดเป็นเจ้าของเมื่อผู้ให้เช่าทำาสัญญาเช่าไว้กับผู้เช่าแล้ว
ผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่ต้องจัดหาทรัพย์ที่เช่านั้นมาเพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์
ให้ได้ ไม่เช่นนั้นถือว่าผู้ให้เช่าผิดสัญญา
โดยทั่วไปการให้เช่าโดยที่ผู้ให้เช่าไม่มีกรรมสิทธิ์ เรียกว่า “การเช่า
ช่วง” หมายถึง การที่ผู้เช่าตกลงให้ผู้อื่นเช่าช่วงอีกทีหนึ่ง (อธิบายในหัวข้อ
“การเช่าช่วง”) ทั้งนี้ สัญญาเช่าช่วงนั้นเกิดขึ้นสมบูรณ์และมีผลผูกพัน
คู่สัญญา คือผู้ให้เช่า(ช่วง) และผู้เช่า(ช่วง) ไม่ว่าการเช่าช่วงจะได้รับ
อนุญาตจากผู้ให้เช่า (สัญญาเช่าฉบับแรก) หรือไม่ก็ตาม แต่หากผู้ให้
เช่า(ช่วง) ไม่มีสิทธิเอาทรัพย์ที่เช่าออกให้เช่าช่วงผู้ให้เช่า(ช่วง) ก็ต้องรับ
ผิดชอบต่อผู้เช่า(ช่วง) เพราะผิดสัญญาไม่สามารถจัดหาทรัพย์ที่เช่าได้
ตามสัญญา
ในขณะเดียวกัน ผู้เช่า(ช่วง)ไม่สามารถอ้างว่าผู้ให้เช่า(ช่วง) ไม่ใช่
เจ้าของทรัพย์ที่เช่าเพื่อที่จะให้ตนเองหลุดพ้นความผูกพันตามสัญญาเช่า
เช่น ปฏิเสธการจ่ายค่าเช่า ผู้ให้เช่า(ช่วง) เรียกร้องให้ผู้เช่า(ช่วง) ปฏิบัติ
ตามสัญญาได้ และเมื่อสัญญาเช่า(ช่วง) สิ้นสุดลงผู้ให้เช่า(ช่วง) ก็สามารถ
ขับไล่ผู้เช่า(ช่วง) ได้ด้วย