Page 22 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 124
P. 22

ที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา

                                                      ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์
                                                      ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา ก็ถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว

                                                      จำาเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำาร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้..”
                                                      (ในคำาพิพากษาศาลฎีกา อ้างมาตรา 296 (เดิม) ปัจจุบันบทบัญญัติ

                                                      ดังกล่าวถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 295)




















               2   แต่หากเป็นกรณีการจัดทำาบัญชีให้แก่ผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทน เมื่อผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทนได้ชำาระเงินส่วนที่ขาด
          ตามรายงานการคิดคำานวณหักส่วนได้ใช้แทนแล้ว ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด

          ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาแล้ว การบังคับคดีย่อมเป็นอันเสร็จลง ตามนัยคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2557
          “...โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำาพิพากษา และเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่นำายึดออกขายทอดตลาด เมื่อโจทก์ซื้อทรัพย์

          จากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อที่ดินนั้นได้ และเมื่อโจทก์ชำาระเงินส่วนที่ขาดตามรายงาน
          คิดคำานวณหักส่วนได้ใช้แทนแล้ว ย่อมมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และชำาระหนี้

         ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำาพิพากษาเสร็จสิ้นไปในวันที่โจทก์นำาเงินมาชำาระแล้ว การบังคับคดีจึงเป็นอันเสร็จลงตาม ป.วิ.พ.
          มาตรา 296 วรรคสี่ (2) ประกอบมาตรา 318 (เดิม) ส่วนการทำาบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดี

         ในเวลาต่อมาเป็นเพียงการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำานวณการจ่ายเงินให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น ดังนั้น คำาร้อง
         ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามมาตรา 296 วรรคสอง (เดิม) ที่ยื่นภายหลังจากผู้ซื้อนำาเงินส่วนที่เหลือ

         มาชำาระให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปแล้ว จึงเป็นคำาร้องที่ยื่นเกินกำาหนดเวลา ไม่ชอบด้วยมาตรา 296 วรรคสาม (เดิม)”
               เมื่อพิจารณาความหมายของคำาทั้งสองแล้วจะเห็นได้ว่ามีความเหมือนในแง่มุมของระยะเวลาที่จะสำาเร็จบริบูรณ์

         หรือเสร็จลง โดยการบังคับคดีสำาเร็จบริบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 110 ให้ถือว่า
          สำาเร็จบริบูรณ์เมื่อการบังคับคดีได้พ้นระยะเวลาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ส่วนการบังคับคดีเสร็จลง ตามประมวลกฎหมาย

          วิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ถือว่าเสร็จลงเมื่อการบังคับคดีได้มีดำาเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
          มาตรา 295 วรรคสี่ (1) (2)

               ส่วนความแตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องของการนำาไปใช้  การบังคับคดีสำาเร็จบริบูรณ์ จะนำามาใช้พิจารณาว่าการบังคับคดี
          แพ่งใดที่สำาเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลมีคำาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมจะใช้ยันต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายได้

          หากการบังคับคดียังไม่สำาเร็จบริบูรณ์ก็จะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ ส่วนการบังคับคดีเสร็จลง จะนำามาใช้
          ในเรื่องของการขอเพิกถอนหรือแก้ไขการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ โดยจะต้องยื่นต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง



         2  จรัญ ภักดีธนากุล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดี พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๐ หน้า ๒๖๗-๒๖๘



                                                          21


                                                กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27