Page 15 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 113
P. 15

ข้อเสนอแนะที่ต้องแก้ไขคือ
             1.ทุกสิ้นวันเจ้าหน้าที่การเงินผู้มีหน้าที่ปิดบัญชีประจําวันตรวจสอบและนําเสนอสมุดบัญชีเงินสดรวม สมุดรายวันรับ-จ่ายเงิน
       ทุกประเภทคดี รายงานสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์และกระแสรายวัน สําเนาใบเสร็จรับเงิน สําเนาใบสั่งจ่าย สําเนาใบนําฝากธนาคาร

       ต้นขั้วเช็ค รายงานเงินคงเหลือประจําวันพร้อมเงินสดและเอกสารแทนตัวเงินให้ผู้อํานวยการตรวจสอบ
             2.เช็คที่ยังไม่ใช้จะต้องเก็บไว้ในตู้นิรภัย และผู้อํานวยการต้องไม่ลงลายมือชื่อในเช็คทิ้งไว้ให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน ก่อนลงลายมือชื่อ

       ในเช็คสิ่งที่ต้องตรวจสอบเช่น บัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน รายงานการคิดค่าใช้จ่ายคืนโจทก์ จะต้องตรงกับใบสั่งจ่ายและเช็ค กรณี
       การทุจริตในครั้งนี้เจ้าหน้าที่การเงินมีวิธีการหลายประการเช่น 1.สั่งจ่ายเช็คโดยตรง (ไม่ออกใบสั่งจ่ายและไม่เกี่ยวข้องกับคดีใดๆ) 2.เอาเงิน
       จากคดีที่บังคับคดีเสร็จสิ้นแต่ยังไม่บันทึกสิ้นสุด และสํานวนบังคับคดีแทนซึ่งคาดว่าโจทก์จะไม่มาติดต่อ โดยการไปเพิ่มยอดเงินปัจจุบัน

       (ระบบแพ่งเก่า) เท่ากับจํานวนที่ต้องการออกใบสั่งจ่ายและสั่งเขียนจ่ายเช็คออกไป ซึ่งกรณีนี้จะตรวจสอบได้จากรายงานบัญชีแยกประเภท
       รายคดี (รายตัว) จะมียอดติดลบเท่ากับจํานวนเงินที่ขาดหายไป

             3.ต้องกําชับเจ้าหน้าที่การเงินให้ทํางบเดือนและงบเปรียบเทียบยอดเงินฝากธนาคาร
       เป็นประจําทุกเดือนเพราะเป็นการพิสูจน์ว่าบัญชีเงินฝากธนาคารที่บันทึกไว้ถูกต้อง
       ตรงกับทางธนาคารหรือไม่































                กรณีตัวอย่างที่ 3 เป็นการทุจริตของเจ้าหน้าที่ โดยทําการยักยอกเงินจากเงินที่ยังไม่เข้ามาในคดี คือการรับเงิน

           ธนาณัติแล้วไม่นําเงินเข้าคดี กรณีนี้เมื่อธุรการลงรับธนาณัติแล้วส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อไปรับเงินแต่เจ้าหน้าที่ได้รับ
           เงินแล้วไม่ออกใบเสร็จรับเงิน





                                                          ข้อเสนอแนะที่ต้องแก้ไขคือ
                                                               เนื่องจากแบบส่งเงินอายัดในปัจจุบันไม่ได้ให้ส่งเงินทางธนาณัติ

                                                          หากสํานักงานยังคงรับธนาณัติจะต้องควบคุมการรับเงินธนาณัติให้รัดกุม
                                                          คือ เมื่อเจ้าหน้าที่การเงินนําธนาณัติมาให้ผู้อํานวยการลงลายมือชื่อ
                                                          เพื่อไปรับธนาณัติควรให้เจ้าหน้าที่การเงินรวมตัวเลขในกระดาษคํานวณ

                                                          มาให้ด้วย และเมื่อมีการออกใบเสร็จรับเงินธนาณัติให้นําใบเสร็จรับเงินมาให้
                                                          ผู้อํานวยการตรวจสอบยอดเงินที่ไปรับธนาณัติด้วยทุกครั้ง ซึ่งอาจจะตรวจ
                                                          สิ้นวันพร้อมกับใบเสร็จรับเงินอื่นกับรายงานสมุดรายวันรับ-จ่ายเงิน

                                                          คดีแพ่งก็ได้

                                                                              15       กรมบังคับคดี  กระทรวงยุติธรรม
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20