Page 51 - รายงานประจำปี 2563 กรมบังคับคดี
P. 51

(เดิม 76.64) โดยมีอัตราการได้รับช�าระหนี้คืน (Recovery rate) เพิ่มขึ้นเป็น 70.1 (เดิม 69.8) ยังคงอยู่ใน

          อันดับ 4 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน 4 ปีซ้อน อันดับของตัวชี้วัดที่ 9 การบังคับให้เป็นไปตาม
          ข้อตกลง (Enforcing Contracts) ได้คะแนนเท่าเดิม คือ 67.91 อยู่ในอันดับที่ 37 (เดิม 35)


                      ตัวชี้วัดที่ 9 การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts)


             อันดับ/DTF        ปี 2020         ปี 2019         ปี 2018         ปี 2017         ปี 2016

               อันดับ            37              35               34             51               57

                DTF            67.91            67.91           67.91           65.51           62.69


                       ตัวชี้วัดที่ 10 การแก้ปัญหาการล้มละลาย (Resolving Insolvency

             อันดับ/DTF        ปี 2020         ปี 2019         ปี 2018         ปี 2017         ปี 2016

               อันดับ            24              24               26             23               49

                DTF            76.80            76.64           75.64           73.95           58.84


          9. การเสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs

                  กรมบังคับคดีได้ด�าเนินการเชิงรุกในการเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
          และการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  รวมถึงการให้ค�าปรึกษาแนะน�าในการด�าเนิน

          ธุรกิจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจการของวิสาหกิจ ขนาดกลาง
          และขนาดย่อม (SMEs) โดยมีผลการด�าเนินงาน ได้แก่ การยื่นค�าร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จ�านวน 2 ราย

          การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Support & Rescue Center) จ�านวน 117 แห่ง
          การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง

          และขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนทั่วไป รวม 9,782 ราย และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านวีดิทัศน์
          และคู่มือเรื่องการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ รายละเอียดดังนี้

                    9.1 การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นการเปิดโอกาสให้
          ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบปัญหาทางการเงินท�าให้อยู่ในสถานะไม่สามารถ

          ช�าระหนี้ได้ หรือขาดกระแสเงินสดในการด�าเนินธุรกิจ สามารถปรับโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้
          การเห็นชอบของบรรดาเจ้าหนี้ได้ นับแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ได้มีผู้ประกอบการ

          วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (SMEs)  ยื่นค�าร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางจ�านวน  7  ราย
          ศาลมีค�าสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนจ�านวน 2 ราย ปัจจุบันทั้ง 2 ราย ได้ออกจากกระบวนการฟื้นฟู

          กิจการไปแล้ว
                    9.2 จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Support & Rescue Center) จ�านวน 117 แห่ง

          ท�าหน้าที่เป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ค�าปรึกษาด้านกฎหมาย  รับเรื่อง
          ส�าหรับธุรกิจ  SMEs  ที่มีปัญหาและต้องการฟื้นฟูกิจการ  ลักษณะของแผนฟื้นฟูกิจการส�าเร็จรูป  ขั้นตอนและ

          กระบวนการฟื้นฟูธุรกิจ SMEs และขั้นตอนในการด�าเนินการและการวางแผนทางการเงินตามนโยบายของรัฐบาล
          โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานกลางในการดูแลผู้ประกอบการ SMEs

                                             50
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56