Page 5 - การเจรจาและร่างสัญญาทางธุรกิจ - กรมบังคับคดี
P. 5
การเจรจา
4 และร่างสัญญาทางธุรกิจ
ทั้งนี้ ในบางธุรกรรมแม้กฎหมายไม่กำาหนด “แบบของสัญญา” ไว้
แต่กฎหมายก็ให้ความสำาคัญเพื่อไม่เกิดความยุ่งยากในการฟ้องร้อง
เพราะยากต่อการนำาสืบพยานหลักฐาน คู่สัญญาจึงต้องมี “หลักฐานเป็น
หนังสือ” เช่น การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป การทำาสัญญาซื้อขาย
สังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ไม่เช่นนั้นฟ้องคดีไม่ได้
อย่างไรก็ดี “หลักฐานเป็นหนังสือ” อาจไม่ใช่สัญญาเพราะแค่มีเอกสาร
ที่มีข้อความแสดงว่ามีสัญญาต่อกันและมีการลงลายมือชื่อของคู่สัญญา
ฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่การจัดทำา “สัญญา” เป็นหนังสือให้ชัดเจนและลงลายมือชื่อ
คู่สัญญาทุกฝ่ายย่อมดีกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต (สัญญา
คืออะไร? อธิบายไว้ในเล่ม “สัญญาสำาหรับผู้ประกอบการ”)
2. ความสำาคัญของการมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
แม้ธุรกรรมส่วนใหญ่กฎหมายจะไม่กำาหนด “แบบของสัญญา” หรือ
ให้ต้องมี “หลักฐานเป็นหนังสือ” คู่สัญญาก็ควรทำาสัญญาเป็นหนังสือ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าตกลงอะไรกันอย่างไรไว้ สัญญาเกิดเมื่อใด คู่สัญญา
ต้องดำาเนินงานอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ และความรับผิดของคู่สัญญาเป็น
อย่างไร หากผิดสัญญา มีกระบวนการเพื่อระงับข้อพิพาทหรือไม่ อย่างไร
(อธิบายเพิ่มเติมในเรื่อง “โครงสร้างสัญญา”)
การเจรจาและร่างสัญญาทางธุรกิจ