Page 57 - รายงานประจำปี 2563 กรมบังคับคดี
P. 57

15. การจัดตั้งส�านักงานบังคับทางปกครอง

                  กรมบังคับคดีจัดตั้งส�านักงานบังคับทางปกครองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เพื่อบังคับตามค�าสั่ง
          ทางปกครองให้แก่หน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

          ซึ่งก�าหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี มีอ�านาจหน้าที่ในการด�าเนินการเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน

          จ�าหน่ายทรัพย์สิน  และอายัดทรัพย์สิน  เพื่อบังคับให้เป็นไปตามค�าสั่ง  ทางปกครองที่ศาลออกหมายบังคับคดี
          ก�าหนดให้ช�าระเงิน ในส่วนการบังคับทางปกครอง เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีและแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
          แล้วหน่วยงานของรัฐที่ออกค�าสั่งทางปกครองจะต้องด�าเนินการ สืบทรัพย์แล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ

          พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีด�าเนินการบังคับให้เป็นไปตามหมายบังคับคดี

          หน่วยงานของรัฐ สามารถด�าเนินการตั้งเรื่องบังคับทางปกครองได้ ณ ส�านักงานบังคับทางปกครอง กรมบังคับคดี
          และส�านักงานบังคับคดีจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ ผลการด�าเนินงานมีจ�านวนหมายบังคับคดีลงรับ 9 คดี เพิกถอน
          1 คดี และมีการตั้งเรื่องและด�าเนินการบังคับคดี จ�านวน 3 เรื่อง โดยมีหน่วยงาน/บุคคล ขอเข้ารับค�าปรึกษา

          การบังคับทางปกครอง จ�านวน 42 ราย โดยส่วนมากได้ขอรับค�าปรึกษาด้านหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการออกหมาย
          บังคับคดี ขั้นตอนการบังคับคดีตามค�าสั่งทางปกครอง และสอบถามเกี่ยวกับการยึด อายัด ตามพระราชบัญญัติ

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตลอดจนวิธีการยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด และวิธีการสืบหาทรัพย์



          16.  การส�ารวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี

                  ภารกิจหลักของกรมบังคับคดีเป็นการบังคับคดีตามค�าพิพากษาหรือค�าสั่งของศาล  เป็นกระบวนการ
          ยุติธรรมทางแพ่ง ด�าเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายก�าหนด เพื่อสร้างความเป็นธรรม และอ�านวยความสะดวก
          แก่คู่ความทุกฝ่ายในคดี รวมถึงประชาชนผู้รับบริการ โดยมุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชน

          ผู้รับบริการเป็นหลักส�าคัญ และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ LED - Thailand 4.0 ยกระดับ

          ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนตามนโยบายการอ�านวยความสะดวกแก่ประชาชน เสริมสร้างความเชื่อมั่น
          ของการบังคับคดี สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่า
          ทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมั่งคั่ง  ยั่งยืน  จึงได้ท�าวิจัย  "โครงการส�ารวจความเชื่อมั่นของประชาชน

          ผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563" โดยมอบหมายให้บริษัท ซูเปอร์โพล จ�ากัด

          เป็นผู้ด�าเนินการตามโครงการนี้ เพื่อให้การส�ารวจมีความเป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ มีความเป็นกลาง
          และปราศจากอคติ  ผลจากการส�ารวจความเชื่อมั่นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดีต่อ
          กระบวนการบังคับคดี  พบว่าร้อยละ  90.2  มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม  สูงกว่า

          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คิดเป็นร้อยละ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการ
          บังคับคดีโดยภาพรวม ร้อยละ 88.2) และความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในแต่ละกระบวนการ พบว่า

          ร้อยละ 89.7 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีแพ่ง ร้อยละ 87.0 มีความเชื่อมั่นต่อการกระบวนการ
          ขายทอดตลาดทรัพย์ ร้อยละ 86.2 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ร้อยละ 85.7

          มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการวางทรัพย์  ร้อยละ  85.6  มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีล้มละลาย
          ร้อยละ  84.7  มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้  ร้อยละ  84.6  มีความเชื่อมั่นต่อ

          กระบวนการติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย  และร้อยละ  86.8  มีความพึงพอใจโดยรวม
          ต่อกระบวนการบังคับคดี


                                             56
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62