Page 18 - หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจและการชำระหนี้ด้วยทรัพย์ - กรมบังคับคดี
P. 18
หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจ
การประกันการชํำาระหนี้ด้วยทรัพย์ 17
2) ข้อตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนการบังคับจำานองแตกต่าง
จากที่กฎหมายกำาหนด
กฎหมายกำาหนดขั้นตอนการบังคับจำานองให้ผู้รับจำานอง
ต้องปฏิบัติตาม (อธิบายเพิ่มเติมในเรื่อง “การบังคับจำานอง”)
เพื่อคุ้มครองผู้จำานองให้ได้รับความเป็นธรรม เพราะผู้รับจำานอง
อาจประวิงเวลาในการบังคับจำานองเมื่อเห็นว่าตนเองจะได้
ประโยชน์จากการบังคับจำานองที่ล่าช้าออกไป เช่น ดอกเบี้ย
ในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัด
(1) การบอกกล่าวเพื่อบังคับจำานองไปยังลูกหนี้และ
ผู้จำานอง (กรณีที่ผู้จำานองเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้) ในกำาหนด
ระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนด ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ละเลยไม่ดำาเนินการแจ้ง
ก็จะไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล และผู้จำานองก็จะไม่มี
ความรับผิดในดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือภาระติดพันต่างๆ
ตลอดระยะเวลาที่ผู้รับจำานองละเลยหน้าที่ดังกล่าว
(2) การเอาทรัพย์จำานองหลุด หากผู้รับจำานองต้องการ
เอาทรัพย์จำานองหลุด คู่สัญญาจะตกลงกันเพื่อให้ผู้รับจำานอง
เอาทรัพย์จำานองหลุดโดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำานองตาม (1)
และไม่ดำาเนินการทางศาลไม่ได้ และการเอาทรัพย์จำานองหลุด
ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำาหนดเท่านั้น
หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจ-การประกันการชํำาระหนี้ด้วยทรัพย์