Page 32 - การเจรจาและร่างสัญญาทางธุรกิจ - กรมบังคับคดี
P. 32
การเจรจา
และร่างสัญญาทางธุรกิจ 31
5. คำานิยาม หรือ คำาจำากัดความ
การมีคำานิยามหรือคำาจำากัดเพื่อให้คู่สัญญาหรือคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจ
ตรงกันว่าคำาหนึ่งคำานั้นมีความหมายว่าอย่างไร และให้สัญญาเขียนได้
กระชับขึ้น เช่น “ผู้ซื้อ” “ผู้ขาย” “ค่าใช้จ่าย” “ราคา” “วันทำาการ”
เป็นต้น เช่น “สัญญาซื้อขายฉบับนี้ทำาขึ้นระหว่าง นายกุ๊กไก่ (ซึ่งต่อไปนี้
ในสัญญาเรียกว่า “ผู้ซื้อ”) และนายไข่นุ้ย (ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญาเรียกว่า
“ผู้ขาย”)” เป็นต้น
คำาจำากัดความมีความสำาคัญมากหากสัญญามีขนาดใหญ่หรือ
มีความซับซ้อนมาก การมีคำานิยามจะช่วยให้การเขียนสัญญาทำาได้ง่ายขึ้น
ซึ่งมักรวบรวมคำานิยามต่างๆ และใส่ในสัญญาหลังจากส่วนของอารัมภบท
แต่ก่อนส่วนของข้อตกลง โดยอาจจะเรียงลำาดับตามตัวอักษร (เหมือน
พจนานุกรม) เพื่อให้อ่านง่ายและค้นหาคำาได้ง่าย
ทั้งนี้ วิธีการกำาหนดคำานิยามนั้นมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับความตกลง
ของคู่สัญญาว่าต้องการให้คำามีความหมายอย่างไร เช่น
(1) การกำาหนดเพื่อให้คำากระชับขึ้นหรือการกำาหนดคำาย่อ
เช่น “ป.พ.พ.” หมายถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“พ.ร.บ.” หมายถึง พระราชบัญญัติ
การเจรจาและร่างสัญญาทางธุรกิจ