Page 17 - การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท - กรมบังคับคดี
P. 17

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
                                                              กรมบังคับคดี  15




          2. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี คืออะไร


          ตอบ การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทเพื่อยุติการบังคับคดี
          โดยมีบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลางที่เรียกว่า “ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำาหน้าที่ช่วยเหลือ

          เสนอแนะแนวทางเพื่อให้คู่กรณีหาทางออกของข้อพิพาทร่วมกัน หากตกลงกันได้

          จะเป็นผลให้มีการถอนการยึดทรัพย์ ถอนการอายัดทรัพย์หรือถอนการบังคับคดี

          โดยการทำาบันทึกข้อตกลง ซึ่งมีผลผูกพันให้คู่กรณีต้องปฏิบัติตาม
              การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะช่วยให้คู่กรณีทุกฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลง

          ร่วมกัน โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะคอยเป็นผู้กระตุ้น แนะนำา โน้มน้าวแปลความ

          หรือชี้แนะหนทางที่เป็นไปได้ ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทให้กับคู่กรณี โดยผู้ไกล่เกลี่ย

          ไม่มีอำานาจในการกำาหนดข้อตกลงให้แก่คู่กรณีเหมือนดังอนุญาโตตุลาการ
          หรือผู้พิพากษาแต่อย่างใด การจะตกลงหรือไม่ จึงเป็นการตัดสินใจ ของคู่กรณีเอง




          3. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี จะเกิดขึ้นเมื่อไร

          ตอบ 1) มีคำาพิพากษาของศาลแล้ว
               2)  มีคู่กรณีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

               3) มีคนกลางช่วยเหลือในการเจรจาโดยไม่ได้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทให้

               4)  คู่กรณีสมัครใจให้มีคนกลางช่วยเหลือ

               5)  ผลการไกล่เกลี่ยเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีเอง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22