Page 53 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ 2563 สำหรับเกษตรกรและประชาชน - กรมบังคับคดี
P. 53

คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์สำ หรับเกษตรกรเเละประชาชน  กู้ยืมเงิน  51




                    (4) สัญญากู้ที่เจ้าหนี้ (ผู้ให้กู้) ทำาไว้กับผู้คำ้าประกัน เพื่อที่

            จะนำาสัญญากู้ฉบับนี้มาฟ้องให้ผู้คำ้าประกันชำาระเงินหากลูกหนี้ (ผู้กู้)

            ไม่ชำาระ

                    (5) สัญญากู้ที่ระบุให้ผู้คำ้าประกันเข้ามาเป็นผู้กู้ร่วมกับลูกหนี้
                    (6) ผู้คำ้าประกันให้ลูกหนี้ทำาสัญญากู้กับตนไว้ล่วงหน้า เผื่อว่า

            หากเจ้าหนี้เรียกร้องเอาจากผู้คำ้าประกัน ผู้คำ้าประกันจะนำาสัญญากู้

            ฉบับนี้มาฟ้องร้องเอากับลูกหนี้

                  ทั้งนี้ การกู้ยืมเงินที่ไม่ได้มีการส่งมอบเงินกู้กันจริงมีผลทางกฎหมาย

            ดังนี้

                  1)  ข้อตกลงส่วนที่ไม่ได้มีการกู้กันจริงไม่บริบูรณ์ (ไม่เกิดขึ้นเป็นสัญญากู้)

                  ตัวอย่างเช่น นายกุ๊กไก่ตกลงให้นายไข่นุ้ยกู้ยืมเงิน จำานวน 6,000 บาท
            โดยทำาสัญญากันไว้ฉบับหนึ่งแล้ว  แต่เพื่อป้องกันไม่ให้นายไข่นุ้ย

            ผิดสัญญาจึงทำาสัญญากู้ยืมอีกฉบับหนึ่งจำานวนเงินกู้ยืม 12,000 บาท

            และหากนายไข่นุ้ยไม่คืนเงิน นายกุ๊กไก่จะนำาสัญญากู้ฉบับหลัง (จำานวน

            12,000  บาท)  นี้ไปฟ้องคดี  ทั้งนี้  เมื่อสัญญากู้ฉบับหลังไม่ได้มี

            การส่งมอบเงินกัน  “สัญญากู้ฉบับหลังจึงไม่เกิดขึ้นและไม่มีมูลหนี้

            ต่อกัน” นายกุ๊กไก่จึงไม่สามารถใช้สัญญากู้ยืมเงินฉบับหลังฟ้องร้อง

            นายไข่นุ้ย

                  2) หากผู้กู้ถูกฟ้องร้อง ผู้กู้สามารถพิสูจน์หักล้างสัญญากู้ฉบับ

            หลังได้
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58