Page 22 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 113
P. 22

กรมบังคับคดีจัดการบรรยายเพื่อสร้างความรับรู้และเข้าใจ
          เกี่ยวกับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10)  พ.ศ. 2561 สำาหรับประชาชน รุ่นที่ 1



                                                   วันที่ 10 มีนาคม 2561 นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี
                                              เป็นประธานเปิดการบรรยาย เพื่อสร้างความรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ
                                              ล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 สําหรับประชาชน รุ่นที่ 1 ณ ห้องขายทอดตลาด
                                              อาคารอสีติพรรษ กรมบังคับคดี ซึ่งมีประชาชนเข้ารับฟังการบรรยาย จํานวน 90 คน
                                              โดยได้รับเกียรติจากนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี เข้าร่วมฟัง
                                              การบรรยายในครั้งนี้ โดยมีนายพีระ อัครวัตร รองอธิบดีกรมบังคับคดี นางเพ็ญรวี มาแสง
                                              ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และนายสหภัทร ไชยสง่าศิลป์ นิติกรชํานาญการพิเศษ
                                              กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ
                                              หลักการและสาระสําคัญของพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561
                                              อํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่จะทําให้การรวบรวมทรัพย์สินในคดี
                                              ล้มละลายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ผู้เข้ารับฟังการบรรยายได้ร่วมแสดง
                                              ความคิดเห็นและตอบข้อซักถามเพื่อเป็นประโยชน์ในการทํางานของกรมบังคับคดีต่อไป
                                              ทั้งนี้ กรมบังคับคดีได้มีกําหนดจัดการบรรยาย เพื่อสร้างความรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ
                                              พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 สําหรับประชาชน รุ่นที่ 2 ในวันศุกร์ที่
                                              16 มีนาคม 2561 เวลา (14.00 - 16.00 น.) สําหรับผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย
                                              สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลข 02 881 4999 หรือสายด่วน
                                              กรมบังคับคดี 1111 กด 79 ตามวันและเวลาราชการ




          กรมบังคับคดีเข้าร่วมการประชุมกับคณะทำางานร่วมเพื่อเตรียมการ
          เข้ารับการประเมินภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector

          Assessment Program (FSAP)













               วันที่ 13 มีนาคม 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดการประชุมคณะทํางานร่วมเพื่อเตรียมการเข้ารับการประเมิน
          ภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในปี พ.ศ.2561 ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุม
          เทวะวงศ์วโรปการ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีนายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธาน
          การประชุม ซึ่งมีนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี และ
          นางสาวกรรัตน์ นันทกสิกร นิติกรชํานาญการ กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์  และผู้แทนจากหน่วยงาน
          ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้แทนจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
          (ก.ล.ต.) ผู้แทนจากสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ผู้แทนจากสํานักงานคณะกรรมการการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
          ประกันภัย (คปภ.) และผู้แทนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในการนี้ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล
          อธิบดีกรมบังคับคดี ได้รายงานความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี ได้แก่
          ด้าน Insolvency and Creditor/Debtor Right ซึ่งกรมบังคับคดีได้ผลักดันให้มีบริบทกฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
          ที่มีประสิทธิภาพ เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2559 และ
          พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2561 การเพิ่มประสิทธิภาพแก่เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีในกระบวนการล้มละลาย
          และการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เช่น การจัดอบรมหลักสูตรการบัญชีสืบสวนหรือนิติบัญชีศาสตร์ (Forensic Accounting) การเพิ่ม
          ประสิทธิภาพในกระบวนการล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เช่น ระบบติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ (Asset tracking)
          และการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลล้มละลายกับหน่วยงานต่างๆ และเรื่องอื่นๆ ได้แก่ การเพิ่มกลไกในการติดตาม จัดการ และรวบรวม
          ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

      กรมบังคับคดี  กระทรวงยุติธรรม    22
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27