Page 89 - รายงานประจำปี 2562 - กรมบังคับคดี
P. 89

สำานักงาน  ก.พ.  สำานักงบประมาณ  สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  สำานักงานอัยการสูงสุด
            ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน

            ที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี  ในประเด็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอความเห็นและข้อสังเกต

            มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติ โดยเฉพาะความเห็น
            ของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าสมควรจะต้องมีการตราเป็นกฎหมายเฉพาะอีกฉบับหนึ่งแทน

            การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือไม่ และเห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณา
            ทบทวนหลักการของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อเดือนมีนาคม 2562 กรมบังคับคดีได้ร่วมประชุมหารือ

            กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างกรมบังคับคดีปรับแก้ไขตามความเห็นของหน่วยงาน

            ที่เกี่ยวข้อง
                    โครงการพัฒนาระบบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน : ได้รับจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา

            ระบบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน วงเงิน 8,589,600 บาท วงเงินตามสัญญาจ้าง 6,673,000 บาท

            ลงนามในสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ดำาเนินการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ สัญญาสิ้นสุด 21 ธันวาคม
            2561 มีจำานวน 4 งวดงาน โดยได้ขยายระยะเวลาเพิ่มจำานวน 120 วัน ครบกำาหนดในวันที่ 20 เมษายน 2562

            เบิกจ่ายงวดงานที่ 1 แล้ว จำานวน 1,000,950 บาท และเบิกจ่ายงวดงานที่ 2 แล้ว จำานวน 1,334,600 บาท

            ปัจจุบันอยู่ระหว่างคณะกรรมการตรวจรับงวดงานที่ 3
                    การจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดี : โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการหน่วยงาน

            บริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) ได้ดำาเนินงานงวดที่ 2 ในการวิเคราะห์แผนกลยุทธ์,
            แผนธุรกิจ, แผนการเงิน, ร่างระบบการกำากับดูแลจากหน่วยงานเจ้าสังกัด, ร่างโครงสร้างองค์กร, กรอบอัตรากำาลัง

            ของหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำาเนินการ

            งวดที่ 3 โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 กรมบังคับคดีจัดประชุม “เพื่อรับฟังความคิดเห็นแนวทาง
            การจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดี ในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU)

            มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำาไปใช้ประกอบในการกำาหนดแนวทาง
            การบริหารจัดการสถาบันพัฒนาการบังคับคดีในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU)

            เพื่อทำาหน้าที่ในการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี

            ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีบริษัท ทริสคอร์ปอเรชั่น จำากัด
            ร่วมนำาเสนอแนวทางในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดีในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ เพื่อให้

            สามารถทำาหน้าที่ได้ตรงตามความคาดหวังของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ

            พัฒนาการบังคับคดีของประเทศ และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่มุ่งเน้นการบริหารราชการที่
            ต้องการปรับลดขนาดหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เล็กลง และการปรับบทบาทและรูปแบบการให้บริการจาก

            ผู้ปฏิบัติเป็นผู้กำากับดูแล แต่ทรงไว้ซึ่งประสิทธิภาพต่อไป









                                                       88     รายงานประจำาปี กรมบังคับคดี 2562
                                                              Annual Report 2019
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94