Page 12 - หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจการประกันการชำระหนี้ด้วยบุคคล - กรมบังคับคดี
P. 12
คู่มือ หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจ
การประกันการชำาระหนี้ด้วยบุคคล
สัญญาค�้าประกันต้องมี
“หลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค�้าประกัน”
นอกจากนี้ ในกรณีสัญญาคำ้าประกัน “หนี้ในอน�คต” เช่น
การคำ้าประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การคำ้าประกันการทำางาน
ของลูกจ้างหรือ “หนี้ที่มีเงื่อนไข” หนี้ทั้ง 2 ประเภทนี้หนี้ประธาน
อาจยังไม่เกิดขึ้นในวันทำาสัญญาคำ้าประกัน สัญญาคำ้าประกันจึงต้อง
ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ประธาน
(2) ลักษณะหรือรายละเอียดของหนี้ประธาน
(3) จำานวนเงินสูงสุดที่คำ้าประกัน
(4) ระยะเวลาในการก่อหนี้ประธาน
เพราะกฎหมายต้องการคุ้มครองผู้คำ้าประกันให้ได้รับความเป็นธรรม
ในการเข้าทำาสัญญา ผู้คำ้าประกันเป็นเพียงลูกหนี้ชั้นรองและไม่มีอำานาจ
การต่อรองในทางธุรกิจมากนัก ในทางปฏิบัติแต่เดิมสัญญาคำ้าประกันจึงมัก
ระบุความรับผิดของผู้คำ้าประกันอย่างกว้างขวาง เช่น “ผู้คำ้�ประกันรับผิด
ในบรรด�หนี้ทั้งปวงที่อ�จเกิดขึ้นในอน�คตทั้งหมดทุกประก�ร” ดังนั้น
กฎหมายจึงกำาหนดให้สัญญาต้องมีรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้คำ้าประกัน
ได้ทราบถึงรายละเอียดของหนี้ที่คำ้าประกัน เช่น คำ้าประกันในหนี้เงินกู้
เพื่อการดำาเนินกิจการของลูกหนี้เท่านั้นไม่รวมถึงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ของลูกหนี้ การกำาหนด ขอบเขตความรับผิดของผู้คำ้าประกันไว้อย่างชัดเจน
เช่น ไม่เกิน 10 ล้านบาทเป็นต้น รวมถึงระยะเวลาการก่อหนี้ประธาน
ที่ผู้คำ้าประกันจะต้องรับผิด ยกเว้นแต่กรณีที่หนี้ประธานเป็นสัญญาบัญชี
เดินสะพัด (สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี) หรือสัญญาที่ก่อหนี้หมุนเวียนต่อเนื่องกัน
11
คู่มือ หลักประกันเพื่อการประกอบธุรกิจ
การประกันการชำาระหนี้ด้วยบุคคล