Page 27 - คู่มือติดต่อราชการ - กรมบังคับคดี
P. 27

กรมบังคับคดี                                              25
                     กระทรวงยุติธรรม          การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี










              การไกล่เกลี่ย                                                     คู่มือติดต่อราชการ


              ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี




            การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

                  หมายถึง วิธีการระงับหรือยุติข้อพิพาท โดยมีบุคคลที่สาม เรียกว่า

            “ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำาหน้าที่ในการช่วยเหลือเสนอแนะแนวทางและเป็นสื่อกลาง
            เพื่อให้คู่กรณีหาทางออกของข้อพิพาทร่วมกัน โดยที่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำานาจ

            ในการกำาหนดข้อตกลงให้แก่คู่กรณี การจะตกลงหรือไม่เป็นการตัดสินใจ
            ของคู่กรณีเอง



            ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

                  1. รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก

                  2. ไม่เสียค่าใช้จ่าย

                  3. ผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นคนกลาง มีความรู้ความสามารถ
                  4. เป็นความยินยอมของคู่ความในการตกลงกัน เหมาะสมกับทุกฝ่าย

                  5. ทำาให้ไม่ต้องมีการบังคับคดี

                  6. มีความยืดหยุ่นเนื่องจากคู่กรณีสามารถเลือกใช้การไกล่เกลี่ย
                    ข้อพิพาทในบางประเด็นหรือทั้งหมดก็ได้

                  7. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ หรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32