Page 24 - สัญญาสำหรับผู้ประกอบการ - กรมบังคับคดี
P. 24
สัญญาสํำาหรับผู้ประกอบการ 23
อีกทั้ง หากพบว่าความตั้งใจจริงแล้วคู่สัญญาต้องการจะ
ผูกพันกันในสัญญาอื่นต่างจากสัญญาที่แสดงนั้น จะเรียกความต้องการ
ที่จะผูกพันที่แท้จริงของคู่สัญญานั้นว่า “นิติกรรมอำาพราง” ที่กฎหมาย
จะให้สัญญาที่ต้องการจะผูกพันมีผลบังคับใช้ตามเจตนาที่แท้จริงของ
คู่สัญญาต่อไป
เช่น นายกุ๊กไก่ต้องการขายบ้านของตนให้แก่นายไข่นุ้ย
แต่ไม่อยากให้เจ้าหนี้ของตนรู้ว่าตนจะได้เงินมา จึงตกลงกับนายไข่นุ้ย
ให้ร่วมมือกันทำาเป็นสัญญาให้ เช่นนี้ถือว่า “สัญญาให้” นั้นเสียไป
และให้บังคับใช้ตาม “สัญญาซื้อขาย” ที่เป็นความต้องการที่แท้จริงของ
คู่สัญญาแทน
(3) การแสดงเจตนาโดยสำาคัญผิดในสาระสำาคัญของสัญญา
การแสดงเจตนาทำาสัญญาที่ไม่ตรงกับความตั้งใจของ
คู่สัญญา เนื่องมาจากความเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ เช่น เข้าใจเนื้อหาสาระ
ของสัญญาผิด แสดงเจตนาต่อคู่สัญญาผิดตัว แสดงเจตนาโดยเข้าใจทรัพย์
ผิดชิ้น เป็นต้น
เช่น นายกุ๊กไก่ต้องการจ้างนายไข่นุ้ยมาเป็นพนักงาน
แต่กลับไปจ้างนายครองแครง ซึ่งเป็นฝาแฝดของนายไข่นุ้ยที่หน้าตาคล้ายกัน
เพราะความเข้าใจผิด
สัญญาสํำาหรับผู้ประกอบการ