Page 38 - วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 113
P. 38
HR
กับเส้นทางการ
พัฒนาองค์กร
โดย...ณัฐพงศ์ ราชปัก
นักทรัพยากรบุคคลชำานาญการ
กองบริหารทรัพยากรบุคคล
การประเมินผลงานวิชาการ
เพื่อแต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งในประเภทวิชาการ
ระดับชำานาญการ (ตอนที่ 2)
จากบทความตอนที่ 1 กองบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมบังคับคดี ได้ไขข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับการประเมินผลงาน
วิชาการเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ว่าเหตุใดข้าราชการพลเรือนสามัญถึงต้องมีการจัดทําผลงานวิชาการเพื่อเลื่อน
ระดับให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้น และเมื่อทําผลงานวิชาการไปแล้วจะได้รับอะไรกลับมา รวมทั้ง กล่าวถึงขั้นตอนแรก
ของการดําเนินการตามกระบวนการประเมินผลงานบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ ภายใน
กรมบังคับคดี ซึ่งผู้เขียนขอเรียกการดําเนินการดังกล่าวว่า “กระบวนการคัดเลือก” อันประกอบไปด้วย 1) ระเบียบที่ใช้ดําเนินการ
2) คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับการคัดเลือกให้ประเมินผลงาน 3) เกณฑ์การประเมินบุคคล กรณี อธิบดีกรมบังคับคดีเป็นผู้คัดเลือก
และ 4) ขั้นตอนการดําเนินการคัดเลือก ซึ่งในตอนที่ 2 นี้ กองบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมบังคับคดี กําลังจะนําทุกๆ ท่านเข้าสู่
“กระบวนการประเมินผลงาน”
“เมื่อกรม 1. การส่งผลงาน
เมื่อกรมบังคับคดีได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก ชื่อผลงาน
ประกาศรายชื่อ และสัดส่วนของผลงาน และข้อเสนอแนวคิด วิสัยทัศน์หรือแผนงาน
คัดเลือกแล้ว ให้ทราบทั่วกันแล้ว ซึ่งชื่อของผลงานและสัดส่วนของผลงานนั้นมา
จาก “เค้าโครงผลงาน” ที่ผู้ขอรับการประเมินผลงานทางวิชาการได้
เราควรจะทำายังไง ส่งข้อมูลมาที่กรมบังคับคดีเพื่อประกอบการคัดเลือก ซึ่งในการส่งผลงาน
ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องส่งผลงานประเมินตามหัวข้อเรื่องที่ได้เสนอไว้
ต่อดี ??” ในขั้นตอนการคัดเลือกบุคคล และให้ผู้บังคับบัญชากลั่นกรองตรวจสอบ
ผลงานและสัดส่วนของผลงานว่าถูกต้องเป็นความจริงก่อนดําเนินการ
จัดส่งผลงานให้กรมบังคับคดีหรือกองบริหารทรัพยากรบุคคล
เพื่อดําเนินการรวบรวมผลงานของผู้เข้ารับการประเมินเสนอให้แก่
คณะกรรมการประเมินผลงานของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง
ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 38