ภารกิจอำนาจหน้าที่ กรมบังคับคดี

  • กรมบังคับคดี มีภารกิจเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามคำสั่งศาล การชำระบัญชีตามคำสั่งศาล การวางทรัพย์ การประเมินราคาทรัพย์สินและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ดำเนินการยึด อายัด และจำหน่ายทรัพย์สิน รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตลอดจนกำกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการบังคับคดีแพ่งตามคำสั่งศาล
    2. ดำเนินการบังคับคดีล้มละลายตามคำสั่งศาล
    3. ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามคำสั่งศาล
    4. ดำเนินการตรวจสอบสิทธิทางบัญชีของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อรับส่วนแบ่งจากคดี ตรวจสอบค่าใช้จ่าย และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบังคับคดี
    5. ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
    6. รับวางทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้มีสิทธิวางทรัพย์
    7. ดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สิน
    8. ดำเนินการเกี่ยวกับการเดินหมาย คำคู่ความ หนังสือ หรือประกาศของศาล หรือหน่วยงานภายในกรม
    9. พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการ รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
    10. บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบังคับคดี และด้านอื่น ๆ ในความรับผิดชอบของกรม
    11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรม ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามคำสั่งศาล
  • แบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้
    • ราชการบริหารส่วนกลาง
      • 1. สำนักงานเลขานุการกรม
      • 2. กองติดตามทรัพย์สินในคดีล้มละลายและประเมินราคาทรัพย์
      • 3. กองบริหารการคลัง
      • 4. กองบริหารทรัพยากรบุคคล
      • 5. กองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 6
      • 6. กองพัฒนาระบบการบังคับคดี
      • 7. กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
      • 8. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • 9. สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 – 7
      • 10. กลุ่มตรวจสอบภายใน
      • 11. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
      • 12. กลุ่มงานจริยธรรม
      • 13. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
      • 14. สถาบันพัฒนาการบังคับคดี
      • 15. สำนักงานบังคับทางปกครอง
      • 16. กองนโยบายและแผน
    • ราชการส่วนภูมิภาค
      17. สำนักงานบังคับคดีจังหวัด
  • 1. สำนักงานเลขานุการกรม
    มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของกรมและราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หน้าที่และอำนาจดังกล่าวให้รวมถึง
    1. ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
    2. รับเรื่องร้องเรียนหรือเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอความเป็นธรรม และการขอความช่วยเหลือจากกรมในเรี่องการปฏิบัติงานตามภารกิจของกรม
    3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม
    4. ประสานราชการ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของกรม
    5. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสภาพทรัพย์ที่ถูกยึด คำคู่ความ หนังสือ หรือประกาศ และการเก็บสำนวนในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ คดีชำระบัญชีตามคำสั่งศาล และเอกสารดำเนินงานทั่วไปรวมทั้งการรักษาทรัพย์
    6. รับคำขอรับชำระหนี้ หมายศาล คำพิพากษา และเอกสารอื่น ๆ ในคดีล้มละลาย รวมทั้งรับหมายบังคับคดีแทนสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานครตามที่ร้องขอ
    7. ดำเนินการตรวจสอบและรับรองข้อมูลบุคคล้มละลาย
    8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 2. กองติดตามทรัพย์สินในคดีล้มละลายและประเมินราคาทรัพย์
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ติดตามและรวบรวมทรัพย์สินทั้งตรวจสอบข้อมูล เอกสาร และหลักฐานทางการเงินต่าง ๆ ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
    2. คำนวณเงินตามคำสั่งและคำร้องในสำนวนคดี
    3. จัดการสะสางกิจการและติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
    4. จัดทำบัญชีแบ่งทรัพย์สินในการบังคับคดีล้มละลายและการชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
    5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 3. กองบริหารการคลัง
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
    2. จัดทำบัญชีเพื่อควบคุมเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีและเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี
    3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 4. กองบริหารทรัพยากรบุคคล
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงานของกรม
    2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 5. กองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 6
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
    2. ดำเนินการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
    3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 6. กองพัฒนาระบบการบังคับคดี
    มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
    1. ศึกษา พัฒนา และวิจัยระบบและรูปแบบการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ การติดตามและเฉลี่ยทรัพย์ การประเมินราคาทรัพย์สิน และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินและปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์
    3. ประสานและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการบังคับคดีกับองค์การ หรือพนักงานต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศในการบังคับคดี
    4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรม
    5. ดำเนินการเกี่ยวกับการอบรมให้ความรู้ด้านการบังคับคดีและดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกรมแก่เครือข่ายวิทยากรตัวคูณ
    6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 7. กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
    2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 8. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
    2. พัฒนา ออกแบบ และจัดวางระบบฐานข้อมูล ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
    3. เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของกรม
    4. วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสารสนเทศและให้บริการแก่ประชาชน
    5. กำกับ ดูแล และตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของกรมรวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
    6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และสนับสนุนทางวิชาการเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่หน่วยงานภายในกรม
    7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 9. สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
    3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 10. กลุ่มตรวจสอบภายใน
    ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในกรมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมรับผิดชอบขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน การบัญชีของกรม
    2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 11. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
    ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
    2. ติดตาม และประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
    3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม
    4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 12. กลุ่มงานจริยธรรม
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่ดีและติดตามสอดส่งการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายข้าราชการพลเรือนอย่างสม่ำเสมอ
    2. สืบสวนข้อเท็จจริงการฝ่าฝืนจริยธรรมเพื่อรายงานผลให้อธิบดีพิจารณา ทั้งนี้ โดยอาจมีผู้ร้องเรียนหรืออาจดำเนินการตามที่อธิบดีมอบหมาย หรือตามที่เห็นสมควรก็ได้
    3. ให้ความช่วยเหลือดูแลข้าราชการ ซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างตรงไปตรงมา มิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
    4. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
    5. ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน หรือตามที่หัวหน้าส่วนราชการคณะกรรมการจริยธรรม หรือตามที่ ก.พ. มอบหมาย ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ดำรงตำรแหน่งในกลุ่มงานดังกล่าว
  • 13. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับคดีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายหลังจากศาลพิพากษาทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการบังคับคดี
    2. ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ยและจัดเก็บสถิติลักษณะของการเจรจาที่สัมฤทธิ์ผล จัดทำองค์ความรู้ในการดำเนินการ
    3. จัดอบรมผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีให้แก่ประชาชน
    4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 14. สถาบันพัฒนาการบังคับคดี
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. เสนอแนะนโยบายการพัฒนาข้าราชการของกรม การวางแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนสนับสนุน และประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรประจำปี
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอบรมพัฒนาบุคลากรของกรมบังคับคดีให้มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน
    3. ดำเนินการอบรมบุคคลนอกให้มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจของกรมบังคับคดี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    4. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร บริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ และนโยบายของกรมบังคับคดี รวมทั้งติดตามประเมินผลการฝึกอบรมและพัฒนา
    5. ผลิตและเก็บรักษาเอกสาร คำบรรยาย หนังสือที่ใช้ในการฝึกอบรมและประชุมสัมมนา
    6. ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมบังคับคดี
    7. จัดทำฐานข้อมูลวิทยากร ฐานข้อมูลการพัฒนาบุคลากรของกรม รวมทั้งการสรุป ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
    8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 15. สำนักงานบังคับทางปกครอง
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง
    3. ดำเนินการเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์ที่ยึดมาโดยวิธีการขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นตามคำสั่งศาล
    4. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และบัญชีส่วนเฉลี่ยเพื่อจ่ายให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดี
    5. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับ - จ่ายเงินในคดี การบังคับทางปกครองและจัดทำบัญชีเพื่อควบคุมการเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีและเงินที่เกี่ยวข้องในคดี
    6. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป งานธุรการ งานธุรการคดี งานสารบรรณ งานรับส่งหนังสือ งานวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ งานบุคลากร งานพัสดุทั่วไป งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานเดินหมายและประกาศ และจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ
    7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 16. กองนโยบายและแผน
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. เสนอแนะการกำหนดนโยบาย รวมทั้งจัดทำแผนและประสานแผนการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์กระทรวง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล รวมถึงแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรมบังคับคดี
    2. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณประจำปีและจัดสรรงบประมาณประจำปีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนของกรม
    3. จัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์สถิติข้อมูลของกรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเผยแพร่และอ้างอิงไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการให้บริการข้อมูลสถิติในด้านต่าง ๆ ของกรม
    4. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการของหน่วยงานในสังกัดกรม
    5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • 17. สำนักงานบังคับคดีจังหวัด/สาขา
    มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
    1. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ในจังหวัด
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
    3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย